การฟ้องแย้ง

หลักเกณฑ์การฟ้องแย้งคดีแพ่ง

        เมื่อเราถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีแพ่ง เมื่อเรายื่นคำให้การต่อสู้คดีก็สามารถฟ้องแย้งระบุในคำให้การเข้าไปในคดีเดียวกัน โดยไม่ต้องแยกฟ้องเป็นคดีใหม่ 

        กล่าวคือ “ฟ้องแย้ง” คือ การฟ้องซึ่งจำเลยกลับฟ้องโจทก์โดยฟ้องในคดี เดียวกัน ขอให็โจทก์รับผิดชอบ กล่าวคือ โจทก์เป็นผู้เริ่มคดีก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วจำเลย จึงได้ฟ้องโจทก์บ้างในคดีเดียวกันโดยกล่าวรวมมาในคำให้การ

       ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสามว่า “จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวถ้บฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก” และมาตรา 179 วรรคท้าย ปัญญัติว่า “แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องต่อศาลใด ไม่ว่าโดยวิธีฟ้อง เพิ่มเดิมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและ คำฟ้องภายหล้งนี้จะเกี่ยวข้องถ้นพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดด้ดสินเข้าด้วยถ้นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลย นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธข้อหาของโจทก์แล้ว ถ้าจำเลยเห็นว่าความจริงโจทก์ต่างหากที่จะต้องข้าระหนี้ให้แก่จำเลย จำเลยก็มีสิทธิฟ้อง โจทก็ให้ข้าระหนี้แก่ตนไปพร้อมถ้บคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ ฟ้องของจำเลยเช่นนี้ เรียกว่า “ฟ้องแย้ง”

หลักเกณฑ์การฟ้องแย้ง

1.ต้องมีฃ้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ เนื่องจากฟ้องแย้งเป็นคำฟ้อง ชนิดหนึ่ง (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (3)) ที่คํความเสนอต่อศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษา ด้งนั้น จึงตกอยู่ในบังกับของมาตรา 55 เช่นเดียวกับฟ้องธรรมดา กล่าวคือผู้มีสิทธิฟ้องแย้ง จะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ และสิทธิหรือหน้าที่ทางแพ่งนั้นได้ถูกโต้แย้ง ก่อนที่จะมีการฟ้องแย้งแล้ว หากไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่จะฟ้องแย้งไม่ได้ แม้จะฟ้องแย้งไว้ล่วงหน้าก็ทำไม่ได้

2.ต้องมีฟ้องเดิม เนื่องจากฟ้องแย้งเป็นฟ้องที่จำเลยเดิมกลับเป็นโจทก์ ฟ้องโจทก็ในคดีเดิมเป็นจำเลย ฉะนั้น จะฟ้องแย้งไต้จะต้องมีฟ้องเดิมอยู่ในระหว่าง พิจารณา

  ถ้าฟ้องเดิมไม่มีเสียแล้วอาจเป็นเพราะโจทก์จำเลยตกลงหรือประนีประนอมยอม ความ แล้วศาลพิพากษาความยอม หรือคดีเดิมศาลไต้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้ว เช่นนี้จะฟ้องแย้งไม่ได้ ในบางกรณีผู้เป็นโจทก็ในฟ้องเดิมไม่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ใต้ เช่น ไม่มี อำนาจฟ้อง ถ้าหากจำเลยไต้ฟ้องแย้งโจทก์คนนั้นไว้ด้วย มีปญหาว่าการที่โจทก์เดิมไม่มี อำนาจฟ้องเช่นนี้จะกระทบกระเทือนถึงฟ้องแย้งของจำเลยอย่างหรือไม่ เช่น บิดาไม่ชอบ ด้วยกฎหมายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ ขอให้แสดงว่าทรัพย์พิพาทเป็นของบุตร ผู้เยาว์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุตร ผู้เยาว์ และฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์จำเลย ถ้าศาลลังว่าโจทก็ไม่มีอำนาจ ฟ้องแทนผู้เยาว์จึงพิพากษายกฟ้อง ต้งนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยจะมีผลอย่างไร กรณีตามปัญหาฟ้องแย้งของจำเลยย่อมตกไปด้วย เพราะฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมไม่มีอยู่แล้วจึงไม่อาจฟ้องแย้งได้ กรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเดิมต้องพิจารณาด้วยว่าพิพากษายกฟ้องด้วย เหตุใด ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเดิมด้วยเหตุโจทก็ไม่มีอำนาจฟ้อง เช่นนี้ถือว่าไม่มีฟ้อง เดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยต่อไปจึงฟ้องแย้งไม่ได้ แต่ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง ด้วยเหตุฟ้องเดิมเคลือบคลุม เช่นนี้ย้งมีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยต่อไปอยู่ฟ้องแย้งที่ จำเลยฟ้องรวมมาถ้บคำให้การจึงมิตกไป นอกจากนี้ กรณีศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ ออกจากสารบบความเพราะโจทก็ไม่ช่าระหรือวางค่าธรรมเนียมตามที่ศาลสั่ง หรือเพราะ โจทก์ทิ้งฟ้อง อย่างนี้ถ้าจำเลยฟ้องแย้งขึ้นมา ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ตกไปเพราะตัวโจทก์ เดิมซึ่งมาเป็นจำเลยในฟ้องแย้งย้งมีตัวอยู่       

            3.ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า “จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้อง แย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก” และมาตรา 179 บัญญัติว่า “แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดย วิธีฟ้องเพิ่มเดิม หรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่ คำฟ้องเดิม และคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกัน ได้” จากบทบัญญัติทิ้งสองมาตรานี้จะเห็นว่าการฟ้องแย้งนั้นเป็นฟ้องที่เสนอเข้ามา ภายหลังจึงต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ในการพิจารณาว่าฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกัน อย่างไรคงพิจารณาได้จากบทบัญญัติ มาตรา 179 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า “ฟ้องเดิมและ ฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้” หมายความว่าข้อหาตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะต้องเป็นข้อหาหรือประเด็นอย่างเดียวกัน หรือพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์รายเดียวกัน หรือพิพาทกันในเรื่องการกระทำ หรือ พฤติการณ์ หรือกรณีเดียวกัน หรือรายเดียวกัน

ตัวอย่างฎีกาฟ้องแย้งที่

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2546 ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)(5) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 วรรคห้า คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 227 และ 228 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้รับฟ้องแย้งได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาทหากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ดังนี้หากฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ชอบที่จะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาพิพากษา

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2523 ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อแยกโฉนด  ปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิมจำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า   10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ป.พ.พ.ม.4คือใช้ ม.1312 จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำ โจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้น โดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอม ส่วนท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปี ไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน ม.1312 วรรคแรกจำเลยต้องรื้อไปโจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินต่อเติมชายคารุกล้ำที่ดินขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอน จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รื้อกันสาดที่สร้างใหม่ รื้อชายคาส่วนที่สร้างรุกล้ำ รื้อท่อน้ำประปากับเครื่องสูบน้ำออกไปจากที่พิพาท ฟ้องแย้งสวนนี้เกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ที่ขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างทำให้กำแพงตึกของจำเลยแตกร้าวกระเบื้องหน้าตึกแถวเสียหาย   ลูกจ้างของโจทก์ตัดโครงเหล็กเครื่องปรับอากาศของจำเลยนั้นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงฟ้องแย้งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

 

 

Visitors: 143,132