สัญญากู้ต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่ หากไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะมีผลอย่างไร

 

สัญญากู้ต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่ หากไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะมีผลอย่างไร

มีคำพิพากษาฎีกาวางหลักไว้ดังนี้คือ

 

             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2561 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืม จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์นำสืบสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เป็นพยานหลักฐานตามข้ออ้างของตน สัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมถือว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคมีอำนาจวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะฟังว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงตามฟ้อง

 

            จากคำพิพากษาดังกล่าว สรุปได้ว่า  สัญญากู้ยืมดังกล่าวจะต้องปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน (ทุก จำนวน 2,000 บาท หรือ เศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ติดอากร แสตมป์ 1 บาท) พร้อมทั้งขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วย หากไม่ปิดหรือปิดไม่ครบจำนวน หรือปิดแต่ไม่ได้ขีดฆ่า ย่อมถือว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้  ทั้งนี้ เพราะตาม ประมวลรัษฎรกร มาตรา 118 ห้ามมิให้รับฟัง ตราสาร (กู้ยืม) เป็นพยานหลักฐานในการนำสืบ หากไม่ติดอากรแสดมป์

 

                     ฉะนั้น หากจะมีการใช้สัญญากู้ฟ้องคดีต่อศาล ก็จะต้องปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนถูกต้อง

 

       ทค.กอบเกียรติ นบ.นบท.

0864031447

ไลน์ไอดี kobkiatlaw

 

LINE@ สำนักงาน  :  @811ztyjo  

Visitors: 140,601