ฟ้องคดีต่อศาลต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือไม่ คิดคำนวณอย่างไร

การเสียค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง

          “ค่าฤชาธรรมเนียม” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา  มาตรา 149 บัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ

  1. ค่าฤชาธรรมเนียมศาลในคดีแพ่ง นั้นคือค่าขึ้นศาลได้แก่

 คดีมีทุนทรัพย์ คือได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์ คือคดีที่มีผลเป็นการเรียกทรัพย์มาเป็นของตน เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ยืม ค่าเช่า ซื้อขาย

- ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์

- สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1

- สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง

การคำนวณมีวิธีการง่ายๆ คือ ให้นำทุนทรัพย์ตั้งแล้ว หารด้วย 50

เช่น      ทุนทรัพย์                                 =          1,000,000  บาท

           วิธีคิด                                     ฟ้อง 1,000,000  บาท  หารด้วย 50  หรือ   

                                                       ฟ้อง 1,000,000  บาท  คูณ 2 หาร 100

           คิดเป็นค่าขึ้นศาล                     =          20,000  บาท

ส่วนคดี ทุนทรัพย์ ไม่เกิน 300,000 บาท จะเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมโนสาเร่คดีละไม่เกิน 1,000 บาท

2. คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่ฝ่ายโจทก์ฟ้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งระงับความเดือดร้อน ความรำคาญ หรือความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นจำนวนเงินได้ เพื่อประโยชน์ของตัวโจทก์เอง โดยไม่มีการเรียกร้องเป็นจำนวนเงิน หรือทรัพย์สินอื่นใด(คดีที่บุคคลเรียกร้อง) ตามกฎหมายไว้ ซึ่งหากไม่มีคำสั่งศาลบุคคลนั้นไม่อาจใช้สิทธินั้นได้ แต่ผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น ไม่ทำให้บุคคลนั้นได้มาซึ่งทรัพย์สินใดเพิ่มขึ้น หรือ เป็นกรณีขอในสิ่งที่ไม่อาจคำนวณเป็นจำนวนเงินได้ เช่น การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติบุคคล , การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโดยมิชอบและขอให้ที่ดินนั้นกลับมาเป็นของเจ้าของที่ดินตามเดิม,การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ,การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล ฯลฯโดยมีค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์หรือผู้ร้องต้องเสียเรื่องละ 200 บาท

ตัวอย่างฎีกา

เลขที่ฎีกา  567/2510 ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมให้ครบ โจทก์ไม่ได้เสียภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องโจทก์ยื่นคำร้องขอเสียค่าธรรมเนียม ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง โจทก์จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งที่ให้ยกคำร้องนี้  ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว คดีของโจทก์ไม่มีอยู่ในศาล อันศาลจะพึงดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆต่อไปอีก โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปไม่ได้  จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาใช้บังคับดังโจทก์ฎีกาไม่ได้ เพราะมาตรานี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายหรือย่นระยะเวลาในคดี ที่จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ในศาล

ส่วนการฟ้องคดีอาญานั้น ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลนอกจาก จะมีคำขอให้จำเลยชำระเงินทางแพ่ง เรียกว่าคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์

Visitors: 140,601