ทนายความคดีแชร์

 เลิกสัญญาเล่นแชร์นายวงแชร์(ท้าวแชร์)ต้องรับผิดาอบในการคืนเงิน

ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได ้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2549

โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าแชร์จำนวน 180,984 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 180,984 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งเจ็ด

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 27,698 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 9,306 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 9,598 บาท โจทก์ที่ 4 จำนวน 13,098 บาท โจทก์ที่ 5 จำนวน 13, 098 บาท โจทก์ที่ 6 จำนวน 12,098 บาท และโจทก์ที่ 7 จำนวน 40,014 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์แต่ละคนนับแต่วันฟ้อง (วันที่ 1 มิถุนายน 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งเจ็ด กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ดโดยกำหนดค่าทนายความ 1,500 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามปร ะมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เห็นว่า ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได ้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินคืนไม่ครบ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่หลุดพ้นจากความรับผิดไปตามที่อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 7 ดังกล่าว มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในการคำนวณ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 28,796 บาท แก่โจทก์ที่ 7 จำนวน 42,210 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.

( อดิศักดิ์ ทิมมาศย์ - มานะ ศุภวิริยกุล - ดิเรก อิงคนินันท์ )

 

อายุความฟ้องคดีแชร์ กรณีท้าวแชร์ฟ้องลูกวงมีอายุความกี่ปี

1.กรณีผิดสัญญาแชร์ทางแพ่ง

         หนี้ค่าแชร์นั้นมีลักษณะเป็นหนี้ที่ต้องส่งใช้เงินทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯมาตรา 193/33 (2) จึงมีกำหนดอายุความห้าปี นับแต่ลูกหนี้ผิดนัด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2516 หนี้เงินค่าเล่นแชร์ซึ่งลูกวงจะต้องจ่ายให้แก่นายวง อันมีกำหนดระยะเวลาการใช้เงินคืนเป็นรายเดือนนั้น มีอายุความฟ้องร้อง ปี (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 655/2480)

      มาตรา 193/33  สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ (2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

 

2.แต่หากคดีมีลักษณะเป็นการการฉ้อโกง

ฉ้อโกงธรรมดา จะมีอายุความ ๓ เดือน นับแต่รู้ หรือฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายอาญามีอายุความ ๑๐ ปี แล้วแต่ข้อหาหรือฐานความผิดและข้อเท็จจริงแต่ละคดี  

 ปรึกษาคดีแชร์โทร 0864031447

Visitors: 138,611