ทนายความคดีเช็คเด้ง พ.ร.บ.เช็ค

การฟ้องคดีเช็คเด้ง และข้อต่อสู้คดีเช็ค

ความผิดอาญาอาญาว่าเช็คเด้งนั้นหลักเกณฑ์เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.. 2534 ในมาตรา 4 ที่บัญญัติว่า"ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

 

          (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

          (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

          (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

          (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

          (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

          เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ"

         ดังนั้น หากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ครบองค์ประกอบความผิดในบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหรือทนายความดำเนินคดีให้หลุดพ้นจากองค์ประกอบ ความผิดตาม พรบ.เช็ค ดังกล่าวได้ย่อมไม่เป็นความผิดอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการจะต้องมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาและศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลย

สำหรับข้อต่อสู้ในคดีเช็คที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ คือ

1.ข้อต่อสู้เรื่องวันที่ออกเช็ค

1.1 การออกเช็คต้องมีวันที่ออกเช็คอยู่แล้ว คือ ก่อนที่จะส่งมอบเช็คให้แก่กัน  แต่ถ้าขณะที่ออกเช็ค หรือส่งมอบเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็ค  เช็คนั้นยังไม่ได้กรอกวันที่ เท่ากับว่าไม่มี วันที่ออกเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251 / 2524 การที่จำเลยออกเช็คโดยไม่ลงวันเดือนปีที่ออกเช็คย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด แม้จำเลยได้ตกลงกำหนดวันเดือนปีที่ผู้ทรงเช็คจะนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไว้แน่นอน โจทก์ผู้ทรงเช็คได้นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารตามวันที่ตกลงกัน และเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ลงวันเดือนปีตามที่โจทก์ยื่นเช็ค ก็เป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ธนาคารลงวันออกเช็คไปตามอำนาจของโจทก์ ที่โจทก์มีอยู่ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค มีผลเพียงให้เช็คนั้นมีรายการสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลที่จะปรับเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2524)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729 / 2530การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย แม้จำเลยจะได้มอบหมายให้ผู้อื่นลงวันที่ในเช็คก็มีผลเพียงให้เช็คนั้นสมบูรณ์เพื่อใช้สิทธิฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลทำให้เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่ เพราะถือว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด.(ที่มา-ส่งเสริม) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607 / 2522 และ 211 / 2527 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน

 

1.2 เช็คไม่ลงวันที่ออกเช็ค เท่ากับว่าไม่มีวันที่  ที่จะถือว่าผู้ออกเช็คกระทำความผิดอาญา  การออกเช็คในกรณีนี้ จึงไม่เป็นความผิดอ้างอาญา  เพราะเมื่อผู้สั่งจ่ายไม่มีวันที่สั่งให้ธนาคารใช้เงินผู้สั่งจ่ายก็ไม่ต้องเตรียมเงินไว้ในบัญชีที่ฝากอยู่กับธนาคาร  เพื่อเอาไว้จ่ายเงินในวันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729 / 2530การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย แม้จำเลยจะได้มอบหมายให้ผู้อื่นลงวันที่ในเช็คก็มีผลเพียงให้เช็คนั้นสมบูรณ์เพื่อใช้สิทธิฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลทำให้เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่ เพราะถือว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด.(ที่มา-ส่งเสริม) และฎีกา 8990/ 25132497 / 2531

เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 อนุ บัญญัติว่าคำฟ้องคดีอาญาจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ โดยตามกฎหมายแล้วให้ถือเอาวันที่  ที่ลงในเช็คนั้น  เป็นวันที่ที่จำเลยกระทำความผิดและความผิดสำเร็จลง  เมื่อธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517 / 255

 

2.ต่อสู้ เกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็ค  เช่น ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม หรือ กรณี บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด  ซึ่งเป็นนิติบุคคลกรรมการที่ลงลายมือชื่อไม่ครบถ้วน  และหรือไม่ประทับตาของนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ  เป็นต้น

 

3. ข้อต่อสู้ว่าเช็คนั้นไม่ได้ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย

ตัวอย่าง การออกเช็คที่มิใช่การชำระหนี้ที่มีอยู่จริงนั้น  กล่าวคือ  ขณะที่ออกเช็คนั้นผู้ออกเช็คหรือสั่งจ่ายเช็คต้องเป็นหนี้ผู้ส่งเช็ค อยู่ก่อนแล้วในขณะออกเช็ค

 

3.1 การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดหรือนำเช็คมาขายลดราคาให้แก่ผู้ส่งเช็คไม่ใช่เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงเพราะผู้ออกเช็คพึ่งจะเป็นหนี้ผู้รับเช็คเมื่อนำเช็คนั้นมาแลกหรือขาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378 / 2536

3.2 การออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้า  เพื่อชำระหนี้ตามสัญญา แต่สัญญานั้นได้เลิกกันก่อนแล้ว ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574 / 2528

3.3 ออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894 / 2522

3.4 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ซึ่งหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ผิดกฎหมาย  ซึ่งถือว่าไม่มีมูลนี่ต่อกันเลย  เช่น การออกเช็คเพื่อชำระหนี้การพนัน  ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลและทำอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้การพนันดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้  การออกเช็คดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166 / 2523,1052 / 2529)

3.5 การออกเช็คโดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อที่จะชำระหนี้ต่อกัน  เช่น การออกเช็คเพื่อใช้เป็นหลักฐาน แทนสัญญากู้ยืมเงิน  ไม่ใช่เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริง (คำพิพากษาศาลที่เก่าที่ 862 / 2512 ,1828 / 2512)

คำพิพากษา ฎีกา 1351 / 2542 การกู้ยืมเงินกันโดยสัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุในลักษณะว่าเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินผู้กู้ได้นำเช็คหนึ่งฉบับให้ยึดไว้เป็นประกันถือว่าไม่ใช่ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7187 / 2544 จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งและออกเช็คชำระเงินกู้แต่เช็คนั้นถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน  หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังให้จำเลยกู้เงินและทำสัญญากู้กันใหม่โดยการกู้แต่ละครั้งจำเลยก็นำเงินสดมาชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ พร้อม กับนำเช็คฉบับใหม่มาชำระหนี้เงินกู้เหล่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีอาญากับเช็ค  ที่ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้  แสดงว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้ผูกพันกันตามเช็คพิพาท  ถือว่าโจทก์รับเช็คไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดทางอาญา

3.6 ออกเช็คโดยเจ้าหนี้รู้ดีอยู่แล้วว่าขณะออกเช็คนั้นจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีทางจะชำระเงินตามเช็คได้  แต่เหตุที่ออกเช็คให้เพราะอยู่ในฐานะที่ถูกโจทก์บีบบังคับ  ไม่ใช่เป็นการออกเช็คเพื่อ ชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524 / 2525 )

 

3.7 ออกเช็คเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผิดกฎหมายเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  ผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา

พิพากษาศาลฎีกาที่ 634 / 2518  ออกเช็คเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผิดกฎหมายเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา

 ฎีกาที่ 496 / 2537จำนวนเงินต้นในสัญญากู้ยืมเงิน ได้รวมดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายไม่อาจบังคับชำระได้รวมอยู่ด้วย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3

 

3.8 การออกเช็คเพื่อชำระมูลหนี้ที่ผิดกฎหมายร่วมอยู่ด้วย(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731 / 2544)

ออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินต้น  ซึ่งรวมดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอยู่ด้วยหรือว่ามูลหนี้เป็นดอกเบี้ยเป็นโมฆะ  จำเลยผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5043 / 2531)

 

3.9  การออกเช็คโดยจำเลยกู้เงินโจทก์บอกว่าเอาไปทำการค้า  ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีเงินแต่จำเลย

ได้ออกเช็คลงวันที่ในวันเดียวกันนั้นให้แก่โจทก์  ถือว่าโจทก์เข้าใจแล้วว่าจำเลยออกเช็คไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันนั้น  แต่เป็นการประกันหนี้เงินกู้ไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279 / 2513)

 

3.10 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ซึ่งการเล่นแชร์ ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.. 2534 เช่นในมาตรา 6 มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลราคามากกว่าจำนวน 300,000 บาท การเล่นแชร์ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์  ดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาตาม พรบ.เช็คมาตรา 4( คำพิพากษาศาลฎีกา 427 / 2542)

 

3.11 ออกเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่าไม่ให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงิน  ไม่ใช่ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดทางอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783-1799 / 2519)

 

3.12 ออกเช็คแล้วต่อมานำเช็คไปชำระหนี้ ต่อมาหนี้ที่มีการสั่งจ่ายเช็คไปชำระนั้นได้ระงับลงด้วยการแปลงหนี้ใหม่  เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ เพราะถือว่าเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 349 ซึ่งมีผลทำให้หนี้ตามเช็คเดิมระงับลง  ผู้สั่งจ่ายจึงไม่มีความผิดอาญา  เช่น ตกลงการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกา 3809 / 2530 การออกเช็คพิพาท มอมให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เดิมถือว่าเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่ง เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามมาตรา 349 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724 / 2539)

 

4.และข้อต่อสู้อื่น ๆ ตามแต่ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้น ๆ

         ทั้งหมดก็คือข้อต่อสู้ที่ได้รวบรวมไว้ในการทำคดี การฟ้องร้องและต่อสู้คดีเช็คดังกล่าวทนายความที่ดีต้องรู้หลักกฎหมาย และคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อเป็นจำเลยก็ต้องสู้ด้วยข้อกฎหมายดังกล่าว กลับกันเมื่อเป็นโจทก์เป็นฝ่ายฟ้องคดีก็ต้องปิดช่องทางต่อสู้ของจำเลยฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น

 

ฟ้องร้อง ต่อสู้คดีเช็คฯ โทร. 0864031447  ทนายกอบเกียรติ นบ.นบท

Visitors: 140,601