การทวงหนี้ลูกหนี้ โดยวิธีส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม(โนติส / NOTICE)ของทนายความ

การทวงหนี้ลูกหนี้ โดยวิธีส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม(โนติส / NOTICE)

การทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือโนติส / NOTICE มีทั้งกรณีที่ต้องทำเพราะกฎหมายกำหนดไว้ และ กรณีที่จะบอกกล่าวทวงถามก่อนหรือไม่ก็ได้  เช่น การบอกกล่าวเป็นหนังสือ ตามที่สัญญากำหนด การบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน บอกกล่าวบังคับจำนอง  บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งหากเราไม่ทำการบอกกล่าวเสียก่อนอาจจะไม่มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ต่อศาลได้ถือว่าเป็นกรณีที่จำเป็นต้องออกหนังสือ และกรณีที่จะบอกกล่าวทวงถามก่อนหรือไม่ก็ได้  เช่น  การทวงหนี้เงินกู้ยืม ทวงถามหนี้ค่าเช่า หนี้ค่าสินค้า ทวงหนี้ค่าจ้างทำของ ทวงหนี้ค่าจ้างก่อสร้าง ฯลฯ ก่อนฟ้องเจ้าหนี้อาจจะใช้วิธี ให้ทนายความหรือสำนักงานกฎหมายส่งหนังสือทวงถามหนี้ไปยังลูกหนี้เสียก่อน  ซึ่งข้อความจะต้องครบถ้วนให้ได้ใจความตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย หากไม่ชำระจึงยื่นฟ้องต่อศาลต่อไป

 

คำพิพากษาศาลฎีกา กรณีต้องมีการบอกกล่าวหนังสือเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้

การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเงื่อนไขสำคัญของการบังคับคดีบังคับจำนอง หากไม่ได้บอกกล่าวหรือบอกกล่าวไม่ชอบศาลก็จะยกฟ้องโจทก์เสมอ ให้พิจารณาศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 462/2550  ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อจะบังคับจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และผู้จำนองย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์สินซึ่งจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ไว้แก่โจทก์คือ ห้องชุดเลขที่ 54/225 หาใช่ห้องชุดเลขที่ 0225 การที่หนังสือบอกกล่าวระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นห้องชุดเลขที่ 0225 เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องการพิมพ์ตัวเลขห้องชุดผิดพลาดอันเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทำการไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5. ระบุไว้ว่า ...ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบ... ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2761/2549  โจทก์ที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำนิติกรรมแทนโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 1 รับจำนองที่ดินจากจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ที่ 2 เป็นการกระทำแทนโจทก์ที่ 2 แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับจำนองเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนโจทก์ที่ 2 ก็เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 2 ตัวการซึ่งยังไม่เปิดเผยชื่อแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาจำนองซึ่งโจทก์ที่ 1 ได้ทำไว้แทนตน ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาจำนองเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้การตั้งตัวแทนของโจทก์ที่ 2 เพื่อทำสัญญาจำนองกับจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อสิทธิของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาจำนองเป็นสิทธิที่มีอยู่ในฐานะตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 5553/2542  ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728

เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1608/2506 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยเพียงว่าให้จำเลยชำระเงินและไถ่ถอนการจำนองเสียภายในเร็ววันที่สุดนั้นเห็นได้ว่าไม่ได้กำหนดให้ไถ่ถอนการจำนองเมื่อใด เอาความแน่นอนในการที่จะพิเคราะห์ว่าภายในเวลาอันสมควรหรือไม่ ไม่ได้ จึงไม่เป็นคำบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบ

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1133/2520  เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยก็พูดกับผู้ส่งหนังสือว่า ไม่มีเงิน ถ้าอยากได้เร็ว ๆ ให้ฟ้องเอา เห็นได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาไม่ถือเอาประโยชน์จากระยะเวลาที่โจทก์กำหนดให้ เมื่อโจทก์ได้ให้เวลาแก่จำเลยหลังทราบคำบอกกล่าวแล้วถึง 13 วัน อันเป็นระยะเวลาพอสมควรโจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบอกกล่าว

จำเลยฎีกาว่า สมควรอนุญาตให้จำเลยอ้างพยานเพิ่มเติมตามคำร้องของจำเลย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะอนุญาตให้จำเลยสืบพยานตามที่ระบุไว้นั้น ก็ไม่ทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลง ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานเช่นนั้น ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยนั้นหรือไม่

 

กรณีบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน

 

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๗๓/๒๕๖๒ โจทก์มีหนังสือส่งไปยังจําเลยที่ ๑ ตามสถานที่ที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แม้จําเลยที่ ๑ ไม่ได้รับ แต่ของจดหมายมีการระบุเหตุขัดข้องที่นําจ่ายผู้รับไม่ได้ว่าย้าย ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ โดยมีลายมือชื่อของพนักงานที่เกี่ยวข้องในการนําจ่ายและลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙กํากับไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ ๑ เคยแจ้งการเปลี่ยนแปลง สถานที่ที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก่อน ถือได้ว่าโจทก์ส่งหนังสือให้แก่จําเลยที่ ๑ โดยขอบแล้ว ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กาหนดว่า บรรดาหนังสือติดต่อ ทวงถาม บอกกล่าวหรือหนังสืออื่นใดที่จะส่งให้แก่ผู้กู้นั้น ไม่ว่าจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือไม่ลง ทะเบียน หรือให้คนนําไปส่งเองก็ดี ถ้าหากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ข้างต้นตามสัญญาฉบับนี้ ให้ถือว่าได้ส่งให้แก่ผู้กู้โดยชอบ ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะมีผู้รับไว้หรือไม่ก็ตาม…” สัญญา เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ ๑ เป็นอันเลิกกันในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ และถือว่าจําเลยที่ ๑ ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ใน

แนภายหลังจากที่จําเลยที่ ๑ ผิดนัดแล้ว โจทก์ไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจําเลย ที่ ๒ ผู้ค้ําประกันภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่จําเลยที่ ๑ ลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมาตรา ๑๙ แห่ง พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ใช้บังคับมาตรา ๖๔๖ ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้กับกรณีที่ลูกหนี้ ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป โจทก็ไม่มีอํานาจฟ้องจําเลยที่ ๒

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

(หัวหนังสือสำนักกฎหมาย)                                       

                                      ๒๖  ธันวาคม๒๕๕๙

 เรื่อง    ขอให้ชำระหนี้ ส่งมอบรถคืนและบอกเลิกสัญญา

 เรียน    คุณ

 อ้างถึง หนังสือสัญญา................. ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

                       ตามที่ ท่านได้ตกลง เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกโดยสาร ไม่เกิน ๗ คน (รถแทกซี่) ยี่ห้อNissan Tiida เลข........... จากคุณ............. ในราคา ๑๗๖,๔๑๗ บาท ..............โดยมีกำหนดชำระภายในวันที่ ๕ ของทุกเดือน............. หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดชำระหนี้ยินยอมให้ดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย

                       ปรากฏว่า ท่านปฎิบัติผิดนัดผิดสัญญากล่าวคือ  ..................................................  ซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น

                       ฉะนั้น โดยหนังสือนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก คุณ............... ขอให้ท่านนำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ พร้อมกับค่าเสียหายจำนวน ................บาท มาชำระให้แก่คุณ.............ภายใน... วัน นับแต่ได้รับหนังสือฉบับนี้และหากท่านเพิกเฉยขอถือหนังสือฉบับนี้เป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นับแต่วันที่ครบกำหนด  และขอให้ท่านส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี มิฉะนั้น  ข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและหรืออาญาต่อไป                                             

ขอแสดงความนับถือ

(                                               )

ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

 

ปรึกษาคดีฟ้องร้อง บอกกล่าวทวงถามหนี้

โทร.0864031447

 ไลน์  kobkiatlaw

 

หรือ LINE@ สำนักงาน  :  @811ztyjo

 

Visitors: 143,130