บุคคลใดบ้างที่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

บุคคลใดบ้างมีสิทธิร้องจัดการมรดกของผู้ตาย

บุคคลผู้ที่มีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือของผู้ตายตามมาตรา 1713 ได้แก่ 1. ทายาท. 2. ผู้มีส่วนได้เสีย 3. พนักงานอัยการ

  1.0 ทายาท   หมายความว่า 1. ทายาทโดยธรรม 2. และผู้รับพินัยกรรม

ซึ่งเป็นไปตามลำดับชั้นของทายาทตามมาตรา 1629 ที่บัญญัติว่าทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย 

(6) ลุง ป้า น้า อา 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 
มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน 
มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร 
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน

2.0 ผู้มีส่วนได้เสีย

2.1 บุคคลผู้ที่สืบสิทธิจากพยาธิถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย

 คำพิพากษาศาลฎีกา 850 / 2551 ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ปพพ.มาตรา 1713 ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงหากทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดกผู้ สืบสิทธิ์ของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้

2.2 ผู้รับมรดกแทนที่  คำพิพากษาศาลฎีกา 2733 / 2548 ทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งรวมถึง รด้วยตาม ปพพ.มาตรา 1629 (3)  เมื่อ ลถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ ได้รับส่วนแบ่งซับมรดกส่วนที่ รจะได้รับก็ตกแก่ ปผู้สืบสันดานแต่ปรากฏว่า ปถึงแก่กรรมไปก่อน รแล้วทรัพย์มรดกในส่วนที่ ปจะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ชผู้สืบสันดานผู้รับมรดกแทนที่ ปตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดก และเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์ มรดกผู้ร้องย่อมมีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2)

3.0 เจ้าของรวมเจ้าของรวมในซับมรดกถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกหรือของผู้ตายได้

4.0 สามีหรือภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส(ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)ซึ่งอยู่กินกันมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเจ้าของร่วมระหว่างสามีภรรยาสามีหรือภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น  จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกนั้นนั้น

      แต่หากระหว่างอยู่กินด้วยกันไม่มีทรัพย์สินไม่เกิดขึ้นไม่มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิ์ ร้องจัดการมรดก

5. เจ้าหนี้กองมรดก

5.1 ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมอยู่แล้ว เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องทายาทที่จะต้องรับผิดจำหระหนี้จากกองมรดกให้แก่เจ้าหนี้ได้  ในกรณีเช่นนี้ จึงถือว่าเจ้าหนี้ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกไม่มีสิทธิร้องจัดการมรดก

5.2 กรณีกองมรดกผู้ตายไม่มีทายาทและไม่มีผู้รับพินัยกรรม  เจ้าหนี้ของผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิ์ร้องต่อศาลขอ  ศาลตั้งผู้จัดการมรดก  ได้เพราะเมื่อผู้ตายไม่มีทายาทและ ผู้รับพินัยกรรม ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน  หากไม่มีผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายย่อมไม่สามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้

6.0 ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิ์ร้องจัดการมรดกได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406 / 2534 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419 / 2541

7.0 ผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดกเพื่อประโยชน์ของผู้เยาซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกคำพิพากษาฎีกาที่ 587 / 2523

8.0 ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848 / 2531 เมื่อผู้ตายกับผู้คัดค้านได้ตกลงกันให้ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า  ข้อตกลงนี้เป็นแต่เพียงกำหนดภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านตาม ปพพมาตรา 1522 ไม่ใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้ เยาตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรผู้เยาภายหลังการยายังอยู่กับผู้ตายและผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดามารดาเมื่อบิดาตายอำนาจปกครองบุตรย่อมตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1566 ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์และมีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านขอตั้งผู้จัดการมรดกหรือแทนผู้เยาว์ได้

Visitors: 138,610