ฟ้องผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก มีอายุความกี่ปีนับแต่เมื่อใด

ฟ้องผู้จัดการมรดก อายุความและหลักสำคัญ

การฟ้องคดีอาญา ผู้จัดการมรดกยักยอกต้องทำภายใน เดือนนับแต่รู้เรื่องเพราะเป็นความผิดอักนยอมความได้ 

 
มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
 
มีอายุความไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิด  

...........มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
...........มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 352 หรือมาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ป.วิ.อาญา

...........มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
.........(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

การฟ้องคดีแพ่งหากกองมดกมีผู้จัดการมรดกการฟ้องร้อง "ผู้จัดการมรดก" มีอายุความ 5 ปี  นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้น

 มาตรา 1733 วรรค สอง คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1410/2529

          น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

แต่หากการจัดกามดกยังแบ่งทรัพย์มรดกไม่เสร็จ อายุความ 5 ปี ยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4116/2550

          โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง เมื่อยังมีทรัพย์มรดกที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่เริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่

 

 

____________________________

ปรึกษาคดีเบื้องต้น หรือติดต่อให้ว่าความ
 
Tel . 086-403-1447
Visitors: 138,609