ทนายความคดีผิดสัญญาจ้างทำของ รับเหมาก่อสร้างบ้าน
กฎหมายเรื่องจ้างทำของและ
หลักนิติกรรมและสัญญาทั่วไป
ความหมายของสัญญาจ้างทำของ
สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ
สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ
ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ
มีดังนี้
1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน
กล่าวคือ
ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น
ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
2. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ
กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น
เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก
ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน
นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก
ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม
บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง
3. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน
แม้ด้วยวาจากสามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
จ้างทำของ ผู้ว่าจ้างจ้างผู้รับจ้างก่อสร้างบ้านพักอาศัยเรือน
ค่าเสียหายที่อาจเรียกร้องได้จากผู้รับจ้างผิดสัญญา
เช่น
§ เรียกเงินค่าจ้างคืน
§ ค่าปรับหรือเบี้ยปรับส่งมอบงานล่าช้า
§ ค่าเสียหายกรณีชำรุดบกพร่อง
§ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
เนื่องจากการผิดสัญญา
§ ค่าขาดโอกาสทางการค้า
เช่น ก่อสร้างร้านอาหาร ศูนย์การค้า
§ ค่าแก้ไขแบบก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา
§ ค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการจ้างผู้รับเหมารายใหม่
§ ค่าเสียหายอื่น ๆ
ที่เกิดจากการผิดสัญญาทั้งหมด
กฎหมายมาตราที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๘๗ อันว่าจ้างทำของนั้น
คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง
ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
มาตรา ๕๘๘ เครื่องมือต่าง
ๆ สำหรับใช้ทำการงานให้สำเร็จนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา
มาตรา ๕๘๙ ถ้าสัมภาระสำหรับทำการงานที่กล่าวนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา
ท่านว่าต้องจัดหาชนิดที่ดี
มาตรา ๕๙๐ ถ้าสัมภาระนั้นผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหามาส่ง
ท่านให้ผู้รับจ้างใช้สัมภาระด้วยความระมัดระวังและประหยัดอย่าให้เปลืองเสียเปล่า
เมื่อทำการงานสำเร็จแล้ว มีสัมภาระเหลืออยู่ก็ให้คืนแก่ผู้ว่าจ้าง
มาตรา ๕๙๑ ถ้าความชำรุดบกพร่องหรือความชักช้าในการที่ทำนั้นเกิดขึ้นเพราะสภาพแห่งสัมภาระซึ่งผู้ว่าจ้างส่งให้ก็ดี
เพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างก็ดี
ท่านว่าผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดเว้นแต่จะได้รู้อยู่แล้วว่าสัมภาระนั้นไม่เหมาะหรือว่าคำสั่งนั้นไม่ถูกต้องและมิได้บอกกล่าวตักเตือน
มาตรา ๕๙๒ ผู้รับจ้างจำต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น
มาตรา ๕๙๓ ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร
หรือทำการชักช้าฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี
หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง
จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี
ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้
มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย
มาตรา ๕๙๔ ถ้าในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่นั้นเป็นวิสัยจะคาดหมายล่วงหน้าได้แน่นอนว่า
การที่ทำนั้นจะสำเร็จอย่างบกพร่องหรือจะเป็นไปในทางอันฝ่าฝืนข้อสัญญาเพราะความผิดของผู้รับจ้างไซร้
ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี
หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้
ถ้าและคลาดกำหนดนั้นไป
ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะเอาการนั้นให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมหรือทำต่อไปได้ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
มาตรา ๕๙๕ ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระไซร้
ความรับผิดของผู้รับจ้างในการบกพร่องนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
ลักษณะซื้อขาย
มาตรา ๕๙๖ ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบการที่ทำไม่ทันเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาก็ดีหรือถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ในสัญญาเมื่อล่วงพ้นเวลาอันควรแก่เหตุก็ดี
ผู้ว่าจ้างชอบที่จะลดสินจ้างลง หรือถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลา
ก็ชอบที่จะเลิกสัญญาได้
มาตรา ๕๙๗ ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำนั้นแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน
ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ส่งมอบเนิ่นช้า
มาตรา ๕๙๘ ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำนั้นแล้วทั้งชำรุดบกพร่องมิได้อิดเอื้อนโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย
ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเช่นจะไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบหรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความนั้นเสีย
มาตรา ๕๙๙ ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี
หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดีท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้
เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร
มาตรา ๖๐๐ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาไซร้ท่านว่าผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง
เพียงแต่ที่ปรากฏขึ้นภายในปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏขึ้นภายในห้าปี
ถ้าการที่ทำนั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดิน นอกจากเรือนโรงทำด้วยเครื่องไม้
แต่ข้อจำกัดนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อปรากฏว่าผู้รับจ้างได้ปิดบังความชำรุดบกพร่องนั้น
มาตรา ๖๐๑ ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่ง
นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น
มาตรา ๖๐๒ อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ
ถ้าการที่ทำนั้นมีกำหนดว่าจะส่งรับกันเป็นส่วน
ๆ และได้ระบุจำนวนสินจ้างไว้เป็นส่วน ๆ ไซร้
ท่านว่าพึงใช้สินจ้างเพื่อการแต่ละส่วนในเวลารับเอาส่วนนั้น
มาตรา ๖๐๓ ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ
และการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้
ท่านว่าความวินาศอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง
หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะการกระทำของผู้รับจ้าง
ในกรณีเช่นว่านี้
สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้
มาตรา ๖๐๔ ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ
และการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้
ท่านว่าความวินาศนั้นตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง
หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะการกระทำของผู้รับจ้าง
ในกรณีเช่นว่านี้
สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้ เว้นแต่ความวินาศนั้นเป็นเพราะการกระทำของผู้ว่าจ้าง
มาตรา ๖๐๕ ถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด
ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ
อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น
มาตรา ๖๐๖ ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้างและผู้รับจ้างตายก็ดี
หรือตกเป็นผู้ไม่สามารถทำการที่รับจ้างนั้นต่อไปได้ด้วยมิใช่เพราะความผิดของตนก็ดี
ท่านว่าสัญญานั้นย่อมเป็นอันสิ้นลง
ถ้าและการส่วนที่ได้ทำขึ้นแล้วนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างไซร้ท่านว่าผู้ว่าจ้างจำต้องรับเอาไว้และใช้สินจ้างตามสมควรแก่ส่วนนั้น
ๆ
มาตรา ๖๐๗ ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้ผู้รับจ้างช่วงทำอีกทอดหนึ่งก็ได้
เว้นแต่สาระสำคัญแห่งสัญญานั้นจะอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้าง
แต่ผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพื่อความประพฤติหรือความผิดอย่างใด ๆ ของผู้รับจ้างช่วง
อายุความคดีจ้างทำของ
ผู้รับจ้างฟ้อง
ผู้ว่าจ้าง เรียกเอาค่าจ้างมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
อายุความกรณีชำรุดบกพร่อง คดีผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง
เพียงแต่ที่ปรากฏขึ้นภายใน1 ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปี
ถ้าการที่ทำนั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดิน นอกจากเรือนโรงทำด้วยเครื่องไม้
ฟ้องผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย อื่น ๆ มีอายุความ 10 ปี
ปรึกษาคดีเบื้องต้น หรือติดต่อให้ว่าความ
Tel . 086-403-1447