ทนายความคดีเงินกู้
๑.การกู้ยืมเงินกว่า สองพันบาท ขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม
จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
- ปพพ. มาตรา ๖๕๓ *การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ
ผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
หมายเหตุ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2556
วินิจฉัยไว้ว่า การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง
ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป
การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์
ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้
โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง
โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
๒.การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ
๑๕ ต่อปี หากคิดกินดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะ
- ตาม ปพพ. มาตรา ๖๕๔ บัญญัติว่า ท่านห้ามมิให้ คิดดอกเบี้ย เกิน ร้อยละสิบห้า ต่อปี ถ้า ในสัญญา กำหนดดอกเบี้ย เกินกว่านั้น
ก็ให้ลดลงมาเป็น ร้อยละสิบห้า ต่อปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๑๓/๒๕๓๗
วินิจฉัยว่า
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อั นเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๕๔
ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป
็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ
และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้
- การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานนั้น
หากหลักฐานการกู้มีขึ้นในภายหลังก็ใช้ได้เช่นกัน
๓.
คดีกู้ยืมเงินมีอายุความ ๑๐ ปี ตาม ปพพ. มาตรา ๑๙๓/๓๐
๔.
การใช้เงินกู้ยืมคืน
- การกู้ยืมเงินที่ทำสัญญากันหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้กู้ใช้คืนเงินกู้
ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม
หรือเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นให้แก่ผู้กู้ หรือ
แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นด้วย
๕.
สัญญากู้ยิมเงินไม่มีกำหนดชำระ
-
สัญญากู้ยืมที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้
ซึ่งเจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนก็ได้
-
สัญญากู้ยืมที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้
เจ้าหนี้จะฟ้องขอให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดไม่ได้
๖.ทางแก้กรณีผู้ยืมได้ทำหลักฐานการกู้เป็นหนังสือไว้
๑.ทำหนังสือสัญญาภายหลัง
๒.ให้ผู้กู้ทำหนังสือรับสถาพหนี้
โดยลลายมือชื่อ
๓. ขอให้ลูกหนี้ออกเช็คไว้
๓. sms LINE ข้อความที่ ผู้กู้ กับ ผู้ให้กู้
ส่งถึงกันซึ่งมีข้อความว่ามีการกู้ยืมเงิน
ซึ่งมีลักษณะเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ถือว่าข้อความดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ
มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หลักกฎหมายอ้างอิง
ตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง
มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ
มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือ มีเอกสารมาแสดง
ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
ให้ถือว่าข้อ ความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ
ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ
และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
และ
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง
หรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
กอบเกียรติ
เอี่ยมสงวน ผู้รวบรวม