การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร สามีภริยา

หลักการฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

 

             ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายระหว่างสามีภริยา หรือของบิดามารดากับบุตรผู้เยานั้นสามารถเรียกร้องต่อกันได้เมื่อฝ่ายที่มีหน้าที่ ต้องประการละเลี้ยงดูไม่ได้รับอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู ให้เพียงพอแก่อัตภาพ

          ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลจะพิจารณาพิพากษากำหนดให้เป็นจำนวนเงินเพียงใดหรือไม่ หรือไม่ก็ได้โดยจะพิจารณาจากหนึ่งความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูสองฐานะของผู้รับและสามพฤติการณ์แห่งคดี

 

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791 / 2556 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามบันทึกข้อตกลงในสำเนารายงานประจำวันว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยซึ่งมีลักษณะเป็นการสละที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598 /4 เรื่องข้อตกลงในส่วนนี้จึงใช้บังคับไม่ได้กำไรยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้หลังจากสาการบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง

 

           ในคดีการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1598 / 39 หากผู้มีส่วนได้เสียแสดงได้ว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป      ศาลสามารถสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้ เพิกถอน ลด เพิ่มหรือ หัก ค่าอุปการะเลี้ยงดูอื่นก็ได้  แม้จะเป็น ค่าอุปการะเลี้ยงดูท้ายทะเบียนการหย่าที่จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณีก็ตามแต่ถ้าต่อมาพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไปศาลก็มีอำนาจแก้ไข ในเรื่องดังกล่าวได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681 / 2552 ตามคำร้องขอของผู้ร้องนอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของ ป. และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย อันส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะหากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรอง นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจ ศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่โดยทำเป็นคำร้องขอ รวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้ และมี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5550 / 2556….

             ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติ ปพพ.มาตรามาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี

      มาตรา 1598/40 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระ เป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและ ศาลเห็นสมควรจะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดย วิธีอื่น โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้

 

ในกรณีสามีหรือภริยาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องหย่าก่อน

 

ทำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959 / 2522 ปพพ.มาตรา 1461 วรรคสองและมาตรา 1598 / 38 บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่สามีหรือภรรยาโดยที่ฝ่ายที่มีฐานะดีช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตาม ฐานะและความสามารถทางฝ่ายหนึ่งมีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูแล้วไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายย่อมมีสิทธิ์ฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 วงเล็บหกแต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องอยากก็ฟ้องขอค่าอุปการะ เลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598 / 38 ในเมื่ออีกฝ่ายที่ควรได้รับไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามอัตภาพไม่ใช่เป็นสิทธิ์ทิเรียกร้องที่เกิดขึ้นเมื่อฟ้องหย่า

Visitors: 138,611