ตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพยสินผู้ตายต้องทำอย่างไร โดยละเอียด

การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง(ลิงค์เดียวจบ)

1.เหตุใดจึงต้องมีผู้จัดการมรดก

 เนื่องจาก เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  และมีทรัพย์สินที่ตกทอดแก่ทายาทไม่ว่าจำเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ตาม   บรรดาทรัพย์สินบางอย่างนั้นจำต้องมีการจดทะเบียนการได้มา  มิฉะนั้น  สิทธิของผู้ได้มาจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้  เช่น  เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. ทะเบียนอาวุธปืน  ทะเบียนรถยนต์  ซึ่งทรัพย์บางอย่างเจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้หากไม่มีคำสั่ งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน

2.บุคคลใดบ้างมีสิทธิร้องจัดการมรดกของผู้ตาย

บุคคลผู้ที่มีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือของผู้ตายตามมาตรา 1713 ได้แก่ 1. ทายาท. 2. ผู้มีส่วนได้เสีย 3. พนักงานอัยการ

  1.0 ทายาทหมายความว่า 1. ทายาทโดยธรรม 2. และผู้รับพินัยกรรม

ซึ่งเป็นไปตามลำดับชั้นของทายาทตามมาตรา 1629 ที่บัญญัติว่าทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย 

(6) ลุง ป้า น้า อา 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 
มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน 
มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร 
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน

2.0 ผู้มีส่วนได้เสีย

2.1 บุคคลผู้ที่สืบสิทธิจากทายาทถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย

 คำพิพากษาศาลฎีกา 850 / 2551 ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ปพพ.มาตรา 1713 ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงหากทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดกผู้ สืบสิทธิ์ของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้

2.2 ผู้รับมรดกแทนที่  คำพิพากษาศาลฎีกา 2733 / 2548 ทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งรวมถึง ร. ด้วยตาม ปพพ.มาตรา 1629 (3)  เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ ได้รับส่วนแบ่งซับมรดกส่วนที่ ร. จะได้รับก็ตกแก่ ป. ผู้สืบสันดานแต่ปรากฏว่า ป. ถึงแก่กรรมไปก่อน ร. แล้วทรัพย์มรดกในส่วนที่ ป. จะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ช. ผู้สืบสันดานผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดก และเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์ มรดกผู้ร้องย่อมมีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2)

3.0 เจ้าของรวมเจ้าของรวมในซับมรดกถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกหรือของผู้ตายได้

4.0 สามีหรือภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส(ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)ซึ่งอยู่กินกันมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเจ้าของร่วมระหว่างสามีภรรยาสามีหรือภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น  จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกนั้นนั้น

      แต่หากระหว่างอยู่กินด้วยกันไม่มีทรัพย์สินไม่เกิดขึ้นไม่มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิ์ ร้องจัดการมรดก

5. เจ้าหนี้กองมรดก

5.1 ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมอยู่แล้ว เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องทายาทที่จะต้องรับผิดจำหระหนี้จากกองมรดกให้แก่เจ้าหนี้ได้  ในกรณีเช่นนี้ จึงถือว่าเจ้าหนี้ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกไม่มีสิทธิร้องจัดการมรดก

5.2 กรณีกองมรดกผู้ตายไม่มีทายาทและไม่มีผู้รับพินัยกรรม  เจ้าหนี้ของผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิ์ร้องต่อศาลขอ  ศาลตั้งผู้จัดการมรดก  ได้เพราะเมื่อผู้ตายไม่มีทายาทและ ผู้รับพินัยกรรม ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน  หากไม่มีผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายย่อมไม่สามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้

6.0 ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิ์ร้องจัดการมรดกได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406 / 2534 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419 / 2541

7.0 ผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดกเพื่อประโยชน์ของผู้เยาซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกคำพิพากษาฎีกาที่ 587 / 2523

8.0 ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848 / 2531 เมื่อผู้ตายกับผู้คัดค้านได้ตกลงกันให้ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า  ข้อตกลงนี้เป็นแต่เพียงกำหนดภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านตาม ปพพ. มาตรา 1522 ไม่ใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้ เยาตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรผู้เยาภายหลังการยายังอยู่กับผู้ตายและผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดามารดาเมื่อบิดาตายอำนาจปกครองบุตรย่อมตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1566 ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์และมีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านขอตั้งผู้จัดการมรดกหรือแทนผู้เยาว์ได้

3.เขตอำนาจศาลในการร้องจัดการมรดกคำร้องจัดการมรดกนั้นจะต้องร้องต่อศาล  ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนา  อยู่ในเขตศาลขณะถึงแก่ความตาย(ตามทะเบียนบ้าน)

 

4.เอกสารที่ต้องใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก มีดังนี้ (ต้นฉบับและสำเนาเอกสาร)

1.ทะเบียนบ้านของผู้ตาย และทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้ร้อง อยู่คนละบ้านกับผู้ตาย)
2.ใบมรณะบัตรของผู้ตาย
3.ใบมรณะบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
4.ทะเบียนสมรสของสามีหรือภริยาของผู้ตาย
5.ทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนการหย่าของภริยาของผู้ตาย
6.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
7.สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้
8.บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร้อง
9.พินัยกรรมของผู้ตาย (กรณีทำพินัยกรรมไว้)
10.หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกและบัญชีเครือญาติ (ทนายจัดทำให้ตามแบบฟอร์ม)
11.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน และสัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ อาวุธปืน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น
12.บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
13.คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เคยยื่่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย

5.ตัวอย่างคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

                 ข้อ ๑   ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย............และนาง...................   รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑  

              ................................................... เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรส เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๒ มีบุตรด้วยกัน ๗ คน คือ ................................................

                 ......................... ผู้ตาย ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา  ขณะถึงแก่กรรม มีภูมิลำเนาอยู่ ณ  บ้านเลขที่ ............................ แขวงศาลาธรรมสพน์  เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร  รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบมรณะบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๒

                   ข้อ ๒. ก่อนถึงแก่กรรมนางเกษร เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้โดยแต่งตั้งให้ ...................................ป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาพินัยกรรม ท้ายคำร้องหมายเลข ๓  แต่เนื่องจากน..............ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้แจ้งแก่บรรดาทายาทว่าไม่ประสงค์ที่จะรับหน้าที่ผู้จัดการจัดการมรดก  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือไม่ขอรับหน้าที่ผู้จัดการมรดก เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๕  และยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก

                      ขณะถึงแก่กรรมนางเกสร เจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดก ทั้งสิ้น ๖ คน ซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร  ส่วน.............................ในฐานะบิดามารดา .....................................ในฐานะคู่สมรส ถึงแก่กรรมก่อนเจ้ามรดก รายละเอียดปรากฏตามบัญชีเครือญาติและสำเนาใบมรณะบัตรเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๔ และ ๕ ตามลำดับ

                    ข้อ ๓. ก่อนถึงแก่กรรมนาง..........เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งเป็นทรัพย์มรดก คือ

                            ๓.๑ .......................................................

                            ๓.๒.....................................................

 และ ทรัพย์สินอื่นที่อยู่ระหว่างสืบหา               รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน,สำเนาบัญชีเงินฝาก และบัญชีทรัพย์เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๖ ถึง ๑๑ ตามลำดับ

                    ข้อ ๔.เนื่องจากผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไม่เต็มใจที่จะจัดการ ประกอบกับ  ภายหลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมได้ไปติดต่อกรมที่ดิน เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินแบ่งปันให้แก่ทายาท และติดต่อธนาคารเพื่อขอเบิกเงิน แต่ได้รับแจ้งว่าผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้  ถือได้ว่าเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก

                       ข้อ ๕.ผู้ร้องได้รับความยินยอมจากทายาทของเจ้ามรดก ตกลงให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว   รวมถึงผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมก็ได้ให้ความยินยอมด้วย รายละเอียดปรากฎตามหนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมมรดก เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๗

                           ผู้ร้องไม่เคยเป็นบุคคลวิกลจริต หรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ด้วยเหตุดังได้ประทานกราบเรียนดังกล่าวข้างต้น ขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ................................ เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ขอศาลได้โปรดอนุญาต

                                   ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

         ลงชื่อ                                                                       ทนายผู้ร้อง

 คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า   นายกอบเกียรติ  เอี่ยมสงวน   ทนายผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและพิมพ์

         ลงชื่อ                                                                       ผู้เรียงพิมพ์

 

มาตรากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปพพ.บรรพ ๖ มรดก ลักษณะ ๔ วิธีจัดการ และ ปันทรัพย์มรดก หมวด ๑ ผู้จัดการมรดก

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๑ ผู้จัดการมรดก นั้น รวมตลอดทั้ง บุคคล ที่ตั้งขึ้น โดย พินัยกรรม หรือ โดย คำสั่งศาล

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๒ ผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม อาจตั้งขึ้นได้

(๑) โดย ผู้ทำพินัยกรรมเอง

(๒) โดย บุคคล ซึ่ง ระบุไว้ ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ตั้ง

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๓ ทายาท หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ จะร้องต่อศาล ขอให้ตั้ง ผู้จัดการมรดก ก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(๑) เมื่อ เจ้ามรดก ตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม ได้สูญหายไป หรือ อยู่นอก ราชอาณาเขต หรือ เป็นผู้เยาว์

(๒) เมื่อ ผู้จัดการมรดก หรือ ทายาท ไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจ ที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้อง ในการจัดการ หรือ ในการแบ่งปันมรดก

(๓) เมื่อ ข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่ง ตั้ง ผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ ด้วยประการใดๆ

การตั้ง ผู้จัดการมรดกนั้น ถ้า มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ ศาลตั้ง ตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้า ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ ศาล ตั้งเพื่อประโยชน์แก่ กองมรดก ตามพฤติการณ์ และ โดยคำนึงถึง เจตนา ของเจ้ามรดก แล้วแต่ ศาลจะเห็นสมควร

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๔ เมื่อ ศาลตั้ง ให้ผู้ใดเป็น ผู้จัดการมรดก เพื่อการใดโดยเฉพาะ ผู้นั้น ไม่จำต้องทำบัญชี ทรัพย์มรดก เว้นแต่ จะจำเป็น เพื่อการนั้น หรือ ศาลสั่งให้ทำ

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๕

ผู้ทำพินัยกรรม จะตั้งบุคคล คนเดียวหรือหลายคน ให้เป็น ผู้จัดการมรดก ก็ได้

เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดไว้ ในพินัยกรรม เป็นอย่างอื่น ถ้า มี ผู้จัดการมรดก หลายคน แต่ ผู้จัดการ เหล่านั้น บางคน ไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจ ที่จะจัดการ และ ยังมี ผู้จัดการมรดก เหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้น มีสิทธิที่จะ จัดการมรดก ได้โดยลำพัง แต่ถ้า มี ผู้จัดการมรดก เหลืออยู่หลายคน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการ เหล่านั้น แต่ละคน จะจัดการโดยลำพัง ไม่ได้

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๖ หน้าที่ ผู้จัดการมรดก ที่ศาลตั้ง ให้เริ่ม นับแต่ วันที่ได้ฟัง หรือถือว่า ได้ฟัง คำสั่งศาลแล้ว

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๗ ในเวลาใดๆ ภายใน หนึ่งปี นับแต่ วันที่เจ้ามรดก ตาย แต่ ต้องเป็นเวลา ภายหลังที่เจ้ามรดก ตายแล้ว สิบห้าวัน ทายาท หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย คนใดคนหนึ่ง จะแจ้งความ ถามไปยัง ผู้ที่ถูกตั้ง เป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม ว่าจะรับเป็น ผู ้จัดการมรดก หรือไม่ ก็ได้

ถ้า ผู้ที่ได้รับแจ้งความ มิได้ตอบรับเป็น ผู้จัดการมรดก ภายใน หนึ่งเดือน นับแต่ วันรับแจ้งความนั้น ให้ถือว่า ผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลัง หนึ่งปี นับแต่ วันที่เจ้ามรดก ตาย ไม่ได้ เว้นแต่ ศาลจะอนุญาต

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๘ บุคคล ต่อไปนี้ จะเป็น ผู้จัดการมรดก ไม่ได้

(๑) ผู้ซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(๒) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคล ซึ่ง ศาลสั่งให้เป็น ผู้เสมือนไร้ความสามารถ

(๓) บุคคล ซึ่ง ศาลสั่งให้เป็น คนล้มละลาย

 

 

ปพพ. มาตรา ๑๗๑๙

 

ผู้จัดการมรดก มีสิทธิและหน้าที่ ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไป ตามคำสั่งแจ้งชัด หรือ โดยปริยาย แห่งพินัยกรรม และ เพื่อ จัดการมรดก โดยทั่วไป หรือ เพื่อ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๐

 

ผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อ ทายาท ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๘๐๙ ถึง ๘๑๒๘๑๙๘๒๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้ โดยอนุโลม และ เมื่อ เกี่ยวกับ บุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา ๘๓๑ บังคับ โดยอนุโลม

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๑ ผู้จัดการมรดก ไม่มีสิทธิที่จะ ได้รับบำเหน็จ จากกองมรดก เว้นแต่ พินัยกรรม หรือ ทายาท โดยจำนวนข้างมาก จะได้กำหนดให้ไว้

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๒ ผู้จัดการมรดก จะทำ นิติกรรมใดๆ ซึ่ง ตนมีส่วนได้เสีย เป็นปฏิปักษ์ ต่อกองมรดก หาได้ไม่ เว้นแต่ พินัยกรรม จะได้อนุญาตไว้ หรือ ได้รับอนุญาต จากศาล

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๓ ผู้จัดการมรดก ต้องจัดการ โดยตนเอง เว้นแต่ จะทำการ โดยตัวแทนได้ ตามอำนาจ ที่ให้ไว้ชัดแจ้ง หรือ โดยปริยาย ในพินัยกรรมหรือ โดยคำสั่งศาล หรือ ในพฤติการณ์ เพื่อประโยชน์แก่ กองมรดก

 

 

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๔ ทายาท ย่อมมีความผูกพันต่อ บุคคลภายนอก ในกิจการทั้งหลาย อัน ผู้จัดการมรดก ได้ทำไป ภายในขอบอำนาจ ในฐานะที่เป็น ผู้จัดการมรดก

ถ้า ผู้จัดการมรดก เข้าทำ นิติกรรม กับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ ทรัพย์สิน อย่างใดๆ หรือ ประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอก ได้ให้ หรือ ได้ให้คำมั่น ว่าจะให้ เป็นลาภส่วนตัว ทายาท หาต้องผูกพันไม่ เว้นแต่ ทายาท จะได้ยินยอมด้วย

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๕ ผู้จัดการมรดก ต้องสืบหา โดยสมควร ซึ่ง ตัวผู้มีส่วนได้เสีย และ แจ้งไปให้ทราบถึง ข้อกำหนดพินัยกรรม ที่เกี่ยวกับ ผู้มีส่วนได้เสียนั้น ภายในเวลา อันสมควร

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๖ ถ้า ผู้จัดการมรดก มีหลายคน การทำการ ตามหน้าที่ของ ผู้จัดการมรดกนั้น ต้องถือเอา เสียงข้างมาก เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดพินัยกรรม เป็นอย่างอื่น ถ้า เสียงเท่ากัน เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ก็ให้ศาล เป็นผู้ชี้ขาด

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๗ ผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใด จะร้องขอให้ศาล สั่งถอน ผู้จัดการมรดก เพราะเหตุ ผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ทำหน้า ที่ หรือ เพราะเหตุอย่างอื่น ที่สมควร ก็ได้ แต่ต้องร้องขอ เสียก่อนที่ การปันมรดก เสร็จสิ้นลง

ถึงแม้ว่า จะได้เข้ารับตำแหน่งแล้ว ก็ดี ผู้จัดการมรดก จะลาออกจากตำแหน่ง โดยมีเหตุอันสมควร ก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต จากศาล

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๘ ผู้จัดการมรดก ต้องลงมือจัดทำ บัญชี ทรัพย์มรดก ภายใน สิบห้าวัน

(๑) นับแต่ เจ้ามรดก ตาย ถ้า ในขณะนั้น ผู้จัดการมรดก ได้รู้ถึง การตั้งแต่ง ตามพินัยกรรม ที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ

(๒) นับแต่ วันที่เริ่มหน้าที่ ผู้จัดการมรดก ตาม มาตรา ๑๗๑๖ ในกรณีที่ ศาลตั้งให้เป็น ผู้จัดการมรดก หรือ

(๓) นับแต่ วันที่ ผู้จัดการมรดก รับเป็น ผู้จัดการมรดก ในกรณีอื่น

ปพพ. มาตรา ๑๗๒๙ ผู้จัดการมรดก ต้องลงมือจัดทำ บัญชี ทรัพย์มรดก ให้แล้วเสร็จ ภายใน หนึ่งเดือน นับแต่ เวลาที่ระบุไว้ใน มาตรา ๑๗๒๘ แต่ กำหนดเวลานี้ เมื่อ ผู้จัดการมรดก ร้องขอ ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาต ให้ขยายต่อไปอีก ก็ได้


บัญชี นั้น ต้องทำต่อหน้าพยาน อย่างน้อยสองคน ซึ่ง ต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ในกองมรดกนั้นด้วย

บุคคล ซึ่ง จะเป็นพยาน ในการทำพินัยกรรม ไม่ได้ ตาม มาตรา ๑๖๗๐ จะเป็นพยาน ในการทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้น ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ไม่ได้

ปพพ. มาตรา ๑๗๓๐ ให้นำ มาตรา ๑๕๖๓๑๕๖๔ วรรค ๑ และ ๒ และ ๑๕๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ในระหว่าง ทายาท กับ ผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม และ ในระหว่างศาลกับ ผู้จัดการมรดก ที่ศาลตั้ง

ปพพ. มาตรา ๑๗๓๑ ถ้า ผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำ บัญชี ภายในเวลา และ ตามแบบ ที่กำหนดไว้ หรือถ้า บัญชีนั้น ไม่เป็นที่พอใจ แก่ศาล เพราะ ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง หรือ การทุจริต หรือ ความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ ของ ผู้จัดการมรดก ศาลจะถอน ผู้จัดการมรดกเสีย ก็ได้

 

ปพพ. มาตรา ๑๗๓๒ ผู้จัดการมรดก ต้องจัดการตามหน้าที่ และ ทำรายงาน แสดงบัญชีการจัดการ และ แบ่งปันมรดก ให้เสร็จภายใน หนึ่งปี นับแต่ วันที่ระบุไว้ใน มาตรา ๑๗๒๘ เว้นแต่ ผู้ทำพินัยกรรม ทายาท โดยจำนวนข้างมาก หรือ ศาล จะได้กำหนดเวลา ให้ไว้ เป็นอย่างอื่น

 

 

ปพพ. มาตรา ๑๗๓๓ การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือ ข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับ รายงานแสดงบัญชี การจัดการมรดก ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๓๒ นั้น จะสมบูรณ์ ต่อเมื่อ รายงานแสดงบัญชีนั้น ได้ส่งมอบล่วงหน้า แก่ทายาท พร้อมด้วยเอกสาร อันเกี่ยวกับการนั้น ไม่น้อยกว่า สิบวัน ก่อนแล้ว

 

ทนายกอบเกียรติ นบ.นบท ผู้รวบรวม ปรึกษาคดีมรดกโทร 0864031447

 

 

 

 

Visitors: 123,604