รวมคำถามและข้อควรรู้การตั้งผู้จัดการมรดก ทำยังไงใช้เวลากี่วัน และขั้นตอนอื่น ๆ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดก ต้องทำยังไง ใช้เวลาเท่าไร และอื่นๆ

 

 

 

 

 

 

ทำไมต้องตั้งผู้จัดการผู้จัดการมรดก

เนื่องจากเมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาทและทรัพย์สินซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเช่นการโอนที่ดินรถยนต์การถอนเงินจากบัญชีธนาคาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแสดงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะทำให้ได้ ตามระเบียบ

 

ใครมีสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดก

ผู้ที่มีสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดกคือผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย   ทางกฎหมายเรียกว่าทายาทโดยทำหรือทายาทโดยพินัยกรรม  รวมถึงผู้มีสวนได้เสียเช่น เจ้าหนี้กองมรดก เจ้าของรวมซึ่งจะเป็นไปตามลำดับ ของทายาท ตามมาตรา 1629 และมาตรา 1630

 

ต้องยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ไหน

ต้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลขณะถึงแก่ความตาย  ซึ่งภูมิลำเนาก็คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผุ้ตายเป็นหลักนั่นเอง

 

ตั้งผู้จัดการมรดกใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก มีดังนี้ (ต้นฉบับและสำเนาเอกสาร)

1.ทะเบียนบ้านของผู้ตาย และทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้ร้อง อยู่คนละบ้านกับผู้ตาย)

2.ใบมรณะบัตรของผู้ตาย

3.ใบมรณะบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว

4.ทะเบียนสมรสของสามีหรือภริยาของผู้ตาย

5.ทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนการหย่าของภริยาของผู้ตาย

6.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

7.สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้

8.บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร้อง

9.พินัยกรรมของผู้ตาย (กรณีทำพินัยกรรมไว้)

10.หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกและบัญชีเครือญาติ (ทนายจัดทำให้ตามแบบฟอร์ม)

11.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน และสัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ อาวุธปืน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น

12.บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน

13.คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เคยยื่่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย

 

ตั้งผู้จัดการมรดก มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เวลากี่วัน นานไหม

        ในกรณีที่ว่าจ้างทนายความจะต้องมอบข้อเท็จจริงและเอกสารให้กับทนายความเพื่อร่างคำร้อง ขอเป็นผู้จัดการมรดก

         ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลจะกำหนดวันนัดไต่สวนซึ่งไม่น้อยกว่า 45 วันนับแต่เป็นไปตามวันว่างของศาลและคู่ความโดยส่วนมากน่าจะประมาณ 2 ถึง 3  เดือนเศษ

          พอถึงวันนัดไต่สวนคำร้องผู้ร้องจึงเป็นทายาทจะต้องมาเบิกความต่อศาลหากศาลมีคำสั่งอนุญาตจะส่วนมากจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในวันดังกล่าว ซึ่งบางศาล สามารถคัดคำสั่ง จะได้คำสั่งในวันดังกล่าวเลย

         แต่คำสั่งศาลนี้จะต้องนำไปใช้ประกอบกับหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดด้วย  ซึ่งหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดจะขอได้เมื่อพ้น เวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก   รวมเวลายื่นขอคัดถ่ายและยื่นคำร้องขอหนังสือถึงคดีถึงที่สุดเผื่อไว้ประมาณ 1 ถึง 2 อาทิตย์

       ดังนั้นเมื่อรวมเวลาตั้งแต่ยื่นคำร้องประมาณ 2 ถึง 3 เดือนวันนัดไต่สวนและมีคำสั่งรวมถึงขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ก็จะประมาน 4 เดือน  บวกลบ จึงเสร็จขั้นตอนนำเอกสารไปใช้โอนมรดกได้ เนเวลาโดยประมาณครับ

 

ตั้งผู้จัดการมรดกใช้เงินเท่าไหร่

ส่วนมากที่เห็นอยู่ที่ตกลงกัน อาจจะหลักหมื่น 1-2 หมื่นเว้นแต่จะมีผู้คัดค้าน

 

ทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกทุกคนต้องให้ความยินยอมไหม

ทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกทุกคนควรให้ความยินยอมเป็นหนังสือพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนด้วยจะเป็นการสะดวก ต่อการยื่นคำร้องและไต่สวนครับ

 

ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ให้ความยินยอมหรือติดต่อไม่ได้ต้องทำยังไง

กรณีทายาทคนหนึ่งคนใดไม่ให้ความยินยอมหรือติดต่อไม่ได้ศาลจะให้ผู้ร้องส่งหมาย และสำเนาคำ แจ้ง การไต่สวนไปยังทายาทว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่หากทายาทมิได้คัดค้านมาภายในวันนัดไต่สวนก็ถือว่าไม่ติดใจคัดค้านเสมือนหนึ่งว่าให้ความยินยอมแล้วได้เช่นกัน

 

ตั้งได้กี่คนตั้งร่วมกันได้หรือไม่

1 คน หรือ ตั้งผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ เช่น ร่วมกัน 2 คน เวลาทำนิติกรรมก็เซ็นต์ร่วมกันทั้งสองคน

 

ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

ฟน้าที่หลักคือ มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้กับทายาทตามสัดส่วนหรือตามที่ตกลงกันครับ

 

ผู้จัดการมรดกต้องแบ่งมรดกภายในเวลากี่ปี

ตามกฏหมายคือจะต้องแบ่งปันซับมรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี

 

ผู้จัดการมรดกทำผิดหน้าที่ ไม่แบ่งแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปีจะมีผลอย่างไร

อาจเป็นเหตุให้ทายาทร้องถอนผู้จัดการมรดก หรือฟ้องร้องเป็นคดีอย่างอื่นได้   โดย ปพพ. มาตรา ๑๗๓๑ ระบุว่า ถ้า ผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำ บัญชี ภายในเวลา และ ตามแบบ ที่กำหนดไว้ หรือถ้า บัญชีนั้น ไม่เป็นที่พอใจ แก่ศาล เพราะ ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง หรือ การทุจริต หรือ ความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ ของ ผู้จัดการมรดก ศาลจะถอน ผู้จัดการมรดกเสีย ก็ได้

 

ตั้งผู้จัดการมรดกมีอายุความหรือไม่

การร้องตั้งผู้จัดการมรดกตราบใดที่ยังมีซับมรดกอยู่ไม่มีอายุความร้องจัดการเมื่อไหร่ก็ได้ครับ

 

 ติดต่อทนายร้องจัดการมรดก

LINE@ สำนักงาน  @811ztyjo 

 

Visitors: 126,555