ขั้นตอนการฟ้องคดีแพ่งเป็นอย่างไร ข้อควรรู้ก่อนจ้างทนายความฟ้องคดีมีอะไรบ้าง และคำถามประเด็นสำคัญที่พบบ่อย

 

ขั้นตอนการฟ้องคดีแพ่งเป็นอย่างไร ข้อควรรู้ก่อนจ้างทนายความฟ้องคดีมีอะไรบ้าง และคำถามประเด็นสำคัญที่พบบ่อย

 

การจัดหาทนายความและปรึกษาข้อกฎหมาย

ปรึกษาทนายความว่าเรื่องราวปัญหาของท่าน โดยเล่าข้อเท็จจริงในประเด็นสำคัญ ว่าสามารถแก้ไขด้วยกฎหมายได้อย่างไรบ้าง เกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องใด กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิหน้าที่ หรือสิทธิเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งไว้อย่างไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนในการดำเนินการทางศาลอย่างไร รวมถึงความคุ้มค่าในการดำเนินการ ควรจะดำเนินการหรือไม่

 

เตรียมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างไร

เริ่มจากเรียบเรียงข้อเท็จจริงและลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มีหลักคือ  ใคร ทำอะไร  ที่ไหม เมื่อไร อย่างไร และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อในเหตุการณ์นั้น เช่น เอกสาร บุคคลที่รู้เห็น พยานวัตถุ ประวัติการแชทไลน์ คลิปวีดีโอ คลิปเสียง ภาพในเฟสบุ๊ก   นำมาให้ทนายความร่างฟ้องยื่นศาลต่อไป

 

 

ขั้นตอนการส่งหมายศาลให้จำเลย จำเลยไม่รับหมายได้หรือไม่

 เมื่อทนายความยื่นคำฟ้องต่อศาลจะมีคำแถลงขอให้ศาลปิดหมายหรือส่งหมายและสเนาฟ้องให้กับจำเลยตามกฎหมาย   หมายศาลจะถูกส่งไปตามภูมิลำเนาของจำเลย ตามทะเบียนบ้าน โดยพนักงานเดินหมายของศาลจะเป็นผู้จัดส่ง   ซึ่งมักจะส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย คือ จะติดไว้ที่หน้าบ้านที่เห็นได้ชัด เช่น ที่ตู้หมาย หน้าประตูบ้านหรือเสียบไว้ที่ประตูบ้าน ซึ่งจะถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำนาคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายไปโดดยปริยาย  แล้วแม้ว่าจะเลยจะไม่ได้เซ็นต์รับหรือไม่รับก็ตาม  หรืออีกกรณีคือส่งให้กับจำเลยเซ็นต์รับโดยตรง หรือ ส่งโดยวิธีอื่น เช่น ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง เป็นต้น

 

ขั้นตอนกระบวนการหลังทนายความยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วเป็นอย่างไร

เมื่อยื่นฟ้องคดีแล้วศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณากคดีนัดแรก ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน โดยทั่วไปอากจจะ ประมาณ ๒ ถึหง ๓ เดือนขึ้นอยู่กับปริมาณคดีและวันนัดของศาลที่ยื่นฟ้อง แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน เพราะถือเป็นระยะเวลาการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมาย

       ในวันนัดพิจารณาคดี แพ่ง หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลจะทำการไกล่เกลี่ย หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จคู่ความตกลงกันไม่ได้ ศาลจะกำหนดประเด็นพิพาทและหน้าที่นำสืบเรียกว่า การชี้สองสถาน   และกำหนดวันสืบพยานโจทก์จำเลยในนัดต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลา เป็นเดือนขึ้นอยุ่กับวันว่างของศาลนั้น ๆ เมื่อสืบพยานโจกท์จำเลยเสร็จแล้ว ศาลจะนัดฟังคำพิพากษา ประมาณ ๑ ถึง ๒ เดือน นับแต่วันสืบพยาน

       หากจำเลยไม่มาศาล หรือ ไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะตัดสินคดีโดยฟังจากโจทก์ฝ่ายเดียว ซึ่งจำเลยยังมีสิทธิถามค้านพยานโจกท์ได้ และกำหนดนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

 ดูได้จากเค้าโครงการดำเนินคดีดังต่อไปนี้

 

คำถามว่าเสียเงินฟ้องแล้วจะชนะคดี หรือ ไม่ แพ้คดีต้องจ่ายค่าทนายหรือไม่

       คำว่าชนะคดีนั้น เป็นคำที่กว้าง “ชนะคดี” หากหมายถึงการที่ศาลพิพากษาให้โจกท์ชนะคดีโดยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้อง เท่านั้นคำถามก็เป็นอันจบไป  แต่สาระสำคัญของการชนะคดีที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ คือ การได้รับชำระหนี้ ได้ทรัพย์คืน ได้หย่า ได้ขับไล่ จำเลย ตามที่ฟ้อง และที่ศาพิพากษา ดังนั้น คงจะต้องบอกว่า หากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงชัดเจนศาลก็คงจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี  แต่หากจำเลยไม่ยอมปฎิบัติตามคำพิพากษา คือ ยังไม่ยอมชำระนี้ ไม่ยอมคืนทรัพย์ ไม่โอนทรัพย์ตามคำพิพากษา  โจกท์ก็จะต้องขอออกหมายบังคับคดีตั้งเรื่องบังคับคดีตามคำพิพากษา เช่นการสืบทรัพย์และยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป  ซึ่งมักจะเป็นขั้นตอนที่แยกออกจากสัญญาจ้างทนายความ อีกขั้นตอนหนึ่งต่างหาก 

         ดังนั้น ในมุมของผู้เขียนซึ่งเป็นทนาย การที่จะชนะคดีขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ชัดเจนก็คงไม่เป็นปัญหา ส่วนการชนะคดีอย่างสมบูรณ์น่าจะ คือ ศาลพิพากษาให้ชนะคดีและ โจกท์สามารถบังคับคดีให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ด้วย

          ส่วนค่าจ้างทนายถึงแม้ผลคดีจะออกมาอย่างไรก็ตาม เนื้อหาของการจ้าง คือ การทำงานซึ่งไม่เกี่ยวกับผลคดี แพ้ชนะ แต่หากทนายความที่ดีเห็นว่ารูปคดีมีแนวโน้มที่จะฟ้องชนะค่อนข่างน้อยก็อาจจะไม่รับทำคดีหรืออธิบายหู้ว่าจ้างเข้าใจโดยละเอียด

 

ฟ้องคดีต้องสู้คดีกันกี่ชั้นศาล ต้องมีถึงศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไหม

ส่วนมากจะจบที่ศาลชั้นต้น มีบ้างที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา หากคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจผลคำพิพากษา และการวินิจฉัยคดีของศาลยังไม่ชัดเจนหรือยังขัดกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอยู่  แต่หากคำพิพากษาตัดสินชัดเจนแล้วทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ก็มักจะไม่มีการอุทธรณ์ เพราะอุทธรณ์ไปก็เสียค่าใช้จ่ายเสียเวลาเปล่านั่นเอง

 

ฟ้องคดีใช้เวลานานหรือไม่ คดีจะยืดเยื้อหรือไม่

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คู่ความตกลงกันได้หรือไม่ ไกล่เกลี่ยหลายนัดหรือไม่ มีการสืบพยานหรือเปล่า จำนวนคดีของศาล หากไม่มีการสู้คดีหรือสามารถไกล่เกลี่ยเจรจาตกลงกันได้ อาจใช้เวลา ๓ ถึง ๔ เดือน หากมีการเจรจาหลายครั้งหรือตกลงกันไม่ได้หรือจำเลยต่อสู้คดี อาจใช้เวลา ประมาณ ๖ เดือน หรืออาจใช้เวลาถึง ๑ ปี ก็ได้ในศาลชั้นต้นก็ได้

 

ค่าทนายความชำระแล้วเรียกคืนจากจำเลยได้หรือไม่

๑.กรณีศาลพิพากษาให้โจทก์(ผู้ฟ้องคดี)ชนะคดี ศาลจะสั่งให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายความแทนโจทก์ ไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ บาทและ ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งจะเป็นหนี้ที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษา

๒.กรณีตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอม

    ๒.๑ โจทก์ขอคืนค่า ขึ้นศาลได้ ร้อยละ ๗ ส่วน ๘ หรือ

    ๒.๒ ค่าทนายความแล้วแต่ตกลงกันโดยระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดย  ๑.) ตกลงให้เป็นพับ (คือไม่มีฝ่ายใดต้องรับผิดชอบ)    ๒.) ตกลงให้ชดใช้โดยกำหนดไว้ในสัญญายอม เช่น ยินยอมชดใช้ค่าทนายความ ๕๐๐๐ บาท เป็นต้น

 

ค่าธรรมเนียมศาลเสียอย่างไร

คิดค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ดังต่อไปไม่เกินห้าสิบล้านบาท ร้อยละ 2 แต่ไม่ เกินสองแสนบาท หากฟ้องเกินห้าสิบล้านบาท ค่าขึ้นศาลเพิ่มร้อยละ ๐.๑

คดีมโนสาเร่ คือ คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท

ศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยปฎิบัติตามคำพิพากษา เช่น ไม่จ่ายเงิน ไม่ยอมคืนทรัพย์ ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนที่ดิน ต้องทำอย่างไร

 

หากจำเลยไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดีทำอย่างไร

ต้องบังคับตดีภายใน ๑๐ ปีนับแต่ศาลพิพากษา กล่าวคือโจทก์ต้องสืบทรัพย์จำเลยให้พบ เช่น ที่ดินและสิ่งปลูการ้าง บัญชีธนาคาร เงินปันผล ใบหุ้น ที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์เพื่อบังคับคดีภายใน ๑๐ ปี 

 

ติดต่อทนายความ  โทร 0864031447 

ไลนไอดี Kobkiatlaw

ไลน์คิวอาร์โค้ด

 

หรือ ไลน์ @ สำนักงานฯ

Visitors: 138,603