การนับอายุความคดีอาญาขาดอายุความหรือไม่ ต้องนับอย่างไร

อายุความฟ้องคดีอาญา

           ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 บัญญัติไว้ว่า
            ในคดีอาญา ถ้า 
มิได้ฟ้อง และ ได้ตัว ผู้กระทำความผิด มายังศาล ภายในกำหนด ดังต่อไปนี้ นับแต่ วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
                (1) 
ยี่สิบปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกยี่สิบปี
                (2) 
สิบห้าปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
                (3) 
สิบปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
                (4) 
ห้าปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
                (5) 
หนึ่งปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือ ต้องระวางโทษอย่างอื่น
            ถ้า 
ได้ฟ้อง และ ได้ตัว ผู้กระทำความผิด มายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิด หลบหนี หรือ วิกลจริต และ ศาลสั่งงดการพิจารณาไว้ จนเกินกำหนด ดังกล่าวแล้ว นับแต่ วันที่หลบหนี หรือ วันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่า เป็นอัน ขาดอายุความ เช่นเดียวกัน


ซึ่งการนับอายุความตามมาตราดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ


1.กรณีถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนด

2.ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาล แล้วปรากฏว่าผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริตและศาลสั่งงดการพิจารณาไว้เกินกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณาตามมาตรา 95 วรรคท้าย

 

ส่วนการพิจารณาว่าคดีใดมีกำหนดอายุความนานเท่าไรต้องดูตามอัตราโทษสูงสุดของมาตราที่ได้กระทำความผิด ประกอบกับมาตรา ๙๕ ดังกล่าวข้างต้น เช่น


       ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนามีอายุความ 20 ปี 

        คำพิพากษาฎีกาที่ 9268 / 2539จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเหตุเกิดเมื่อวันที่15 มีนาคม 2518 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่6มีนาคม2538และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อมาวันที่10มีนาคม2538ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด7วันตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอจึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้วฉะนั้นเมื่อต่อมาวันที่13มีนาคม2538ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลยและโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่15มีนาคม2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(1)แล้วฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 อายุความ 10 ปี เช่น คดียักยอก

 ฎีกาที่ 856 / 2536 โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด

 อายุความ 5 ปี เช่น คดี พ.ร.บ.เช็คฯ 

 ฎีกาที่ 986 / 2514 ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เมื่อได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 แล้ว ย่อมมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)

โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลภายในกำหนดอายุความแล้วแต่ไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลภายในกำหนดอายุความ ต้องถือว่าคดีโจทก์เป็นอันขาดอายุความ จะนำเอาบทบัญญัติในทางแพ่งเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงเมื่อฟ้องคดีมาใช้บังคับไม่ได้


วิธีการนับอายุความคดีอาญา

ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติวิธีการนับระยะเวลาอายุความไว้โดยเฉพาะ  การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193 / 3 วรรคสอง มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน  จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น  เช่น  คดีเช็คฯเด้ง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และ  จะครบกำหนดสามเดือนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 โจทก์ฟ้องจำเลย วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย  คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ  ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 920 / 2550

  

        อายุความกรณีที่ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้วก็ถือว่าไม่ขาดอายุความ หรือหยุดนับอายุความแต่หากภายหลังจากนั้นจำเลยได้หลบหนีหรือวิกลจริต ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตามมาตรา 95 วรรคสอง


       คำพิพากษาฎีกาที่ 2791 / 2519 อายุความในคดีอาญานั้นเมื่อเริ่มนับแล้วอายุความก็เดิมเรื่อยไป เว้นแต่กรณีที่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริตและศาลสั่งการพิจารณาไว้ จึงจะเริ่มนับอายุความใหม่แต่วันหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคสอง

จำเลยออกเช็คให้โจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2517 โจทก์นำเช็คไปรับเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยได้โทรศัพท์ให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2518 กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มารา 95 วรรคสอง จึงเริ่มรับอายุความใหม่ไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก คดีจึงขาดอายุความ และการที่จำเลยแจ้งให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ก็มิใช่เป็นการออกเช็ค จะปรับว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้

 

การนับอายุความฟ้องร้องคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว


ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

 

ฟ้องร้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดมาตรา 95    การนับอายุความกรณีนี้นับแต่รู้เรื่องความผิด คือ  1.รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและ  2. รู้ตัวผู้กระทำความผิด ครบสองประการอายุความจึงเริ่มนับ

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2543  จำเลยยืมเครื่องมือก่อสร้างไปจากโจทก์เมื่อปี 2532 โดยจะนำมาส่งคืนเมื่อแล้วเสร็จหรือทวงถาม หลังจากนั้นโจทก์ไม่พบจำเลยอีกเลยจนปี 2537โจทก์พบจำเลยและทวงถามถึงเครื่องมือดังกล่าวแต่จำเลยปฏิเสธ ถือได้ว่าโจทก์ทราบว่า จำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเครื่องมือของโจทก์ไปในวันที่ทวงถามซึ่งเป็นวันที่โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น เมื่อโจทก์แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในวันดังกล่าว คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุค

        คำพิพากษาฎีกาที่สาม 39 / 2552 โจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตนในวันใดอายุความร้องทุกข์ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งหลายหนในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัดเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดของจำเลย


กำหนดอายุความล่วงเลยการลงโทษ

มาตรา 98 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยัง มิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่ วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้
(1) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น

 

ทค.กอบเกียรติ นบ.นบท.0864031447

 

Visitors: 125,536