คดีถูกรถชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เรียกค่าเสียหายเพื่อการละเมิดอะไรได้บ้าง

ค่าเสียหายดีรถชนบาดเจ็บ เสียชีวิต ละเมิด อุบัติเหตุ ประกันภัย 

ผู้ขับขี่ นายจ้าง ตัวแทน ฯลฯ บริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์ ต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้กับฝ่ายที่ถูกชน หรือผู้เอาประกันภัย แบ่งเป็นหลายกรณีเช่น

กี่ยวกับการเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีไม่มีรถใช้งาน เนื่องจากการนำเข้าซ่อมหรือค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ นาย ก. ถูกชน ต้องเข้าซ่อมที่อู่เป็นเวลา ๓ เดือน ทำให้ในระหว่างนี้ไม่มีรถยนต์ใช้โดยนาย ก ประกอบอาชีพขับรถรับจ้าง มีรายได้เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท การที่ไม่มีรถยนต์ใช้ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ไปเป็นเวลา ๓ เดือน เป็นเงิน ๙๐,๐๐๐ บาท หรือ นาย ก .ต้องไปเช่ารถยนต์มาใช้งาน เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๓ เดือน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางไปทำงาน เมื่อรถยนต์กำลังซ่อมอยู่จึงต้องนั่งรถแท็กซี่ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท เป็นต้น อย่างนี้ ผู้ทำละเมิด บริษัทผู้รับประกันภัย ฯลฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเป็นผลมาจากการละเมิดและตามสัญญาประกันภัย...........

เกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสื่อมราคารถยนต์เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ

           ตัวอย่าง เช่น นาย ก. นำรถข้าซ่อมเนื่องจากถูกชน มีความเสียหายหนักบริเวณห้องเครื่อง ห้องโดยสาร และภายนอก แม้ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงสภาพของรถยนต์ได้เปลี่ยนไป ทำให้รถยนต์มีราคาต่ำลง เสื่อมราคา หรืออะไหล่ที่นำมาเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม ไม่ใช่ของแท้ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

ค่าซ่อมรถยนต์ที่ถูกชน หรือถูกทำละเมิด

        ฝ่ายที่ทำละเมิด เช่นผู้ที่ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้รับประกันภัยของฝ่ายนั้น นายจ้าง หรือตัวการ บิดามารดาของผู้เยาว์ มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

สิทธิเรียกร้องเกี่ยกับค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย ฯลฯ

      เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้างพญาบาล ทำกายภาพบับัด ค่าปลงศพ ค่าจัดงานศพ ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูของบุตรหรือบิดามารดา ค่าทำขวัญเจ็บปวดทางจิตใจ เป็นต้น  

 

ค่าเสียหาย อื่น ๆ ที่เกิดมีขึ้นตามหลักกฎหมายละเมิด โดยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายข้างต้นและเหล่านี้มีอายุความ ๑ ปี

 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

 ค่าสินไหมทดแทนในกรณีทำให้เขาตาย ได้แก่

                     ๑. ค่าปลงศพ (มาตรา ๔๔๓ วรรคหนึ่ง)

๒. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น (มาตรา ๔๔๓ วรรคหนึ่ง)

๓. ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสอง)

๔. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสอง)

๕. ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย (มาตรา ๔๔๓ วรรคสาม)

๖. ค่าขาดแรงงาน (มาตรา ๔๔๕)

ค่าปลงศพ

(๑) ผู้ที่มีอำนาจจัดการศพเป็นไปตามมาตรา ๑๖๔๙

     มาตรา ๑๖๔๙ ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น

     ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาท มิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น

 

 ค่าขาดไร้อุปการะ

ค่าขาดไร้อุปการะต้องเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สามีภริยามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกัน (มาตรา ๑๔๖๑) หรือบิดามารดาต้องอุปาระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (มาตรา ๑๕๖๔) บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะที่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (มาตรา ๑๕๖๔) บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (มาตรา ๑๕๖๓)

 

ค่าขาดแรงงาน

 

มาตรา ๔๔๕ ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่า บุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย

 

ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย (กรณีไม่ถึงแก่ความตาย)

 

๑. ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป (มาตรา ๔๔๔ วรรคหนึ่ง)

๒. ค่าเสียความสามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (มาตรา ๔๔๔ วรรคหนึ่ง)

๓. ค่าขาดแรงงาน (มาตรา ๔๔๕)

๔. ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน (มาตรา ๔๔๖)

 

ค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน

 

        ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี                 ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้(มาตรา ๔๔๖)

 

มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

 

       อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

 

โทร : 086-403-1447

ไลน์ไอดี : kobkiatlaw

แสกนคิวอาร์โค้ด

 

LINE@ สำนักงาน  :  @811ztyjo
 
Visitors: 125,659