การฟ้องแบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือสินสมรสของสามีภริยา

คดีฟ้องแบ่งสินสมรส

             ตามมาตรา  ๑๔๗๐  กำหนดว่า  ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็น
สินสมรส
”  กฎหมายดังกล่าวได้แยกทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็น    ประเภท  คือ  ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่า  สินส่วนตัว”  และทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรส ทั้งสองฝ่ายเรียกว่า  สินสมรส” 

               .  สินส่วนตัว 
                    มาตรา  ๑๔๗๑  “สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
                    (๑)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
                    (๒)  ที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
                    (๓)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา 
                    (๔)  ที่เป็นของหมั้น

                    มาตรา  ๑๔๗๒  “สินส่วนตัวนั้น  ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี  ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี  หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี  ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
                    สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน  แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทนทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว”   

               ๒.  สินสมรส
                    มาตรา  ๑๔๗๔ “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
                    ()  ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
                    (๒)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม   หรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
                    ()  ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
                     
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็น
  ”สินสมรส

                     มาตรา ๑๕๓๓  “เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

๓.มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิ ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และ มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วย กฎหมาย

คำอธิบายโดยสรุป


     
ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา เมื่อหย่ากัน ต้องแบ่งสินสมรสคนละส่วนเท่าๆกันตาม 

ป.พ.พ.มาตรา 1533  แต่เมื่อยังไม่ได้แบ่งกัน กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์รวม โดยถือว่าท่านและอดีตสามีเป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
หาหย่าแล้วสามีหรือภริยา ไม่ดำเนินการแบ่งให้ถูกต้อง หรือ ขายทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสนั้น ให้แก่บุคคลภายนอก โดยอีกฝ่ายไม่ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย
แม้บุคคลภายนอกนั้นจะรับซื้อโดยสุจริตก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของ อีกฝ่ายที่ไม่ได้ยินยอม ตาม ปพพ.มาตรา 1361 วรรคสอง ฝ่ายที่เสียหายจึงสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายสินสมรสระหว่างคู่สมรสฝ่ายนั้นและบุคคลภายนอกได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336


คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ
               ๑.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๕๒๓/๒๕๑๙   สามีภริยาหย่ากันโดยคำพิพากษาและจดทะเบียนหย่าแล้ว 
สินบริคณห์สิ้นสภาพ
   แม้ยังมิได้แบ่งก็เป็นแต่กรรมสิทธิ์รวมธรรมดา  หญิงถูกยึดทรัพย์  ชายร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
ได้แต่ขอกันส่วนในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น ไม่ต้องร้องขอแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของสามีและ
ภริยาก่อน
               ๒.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๖๙/๒๕๓๑  โจทก์และจำเลยที่    ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ  แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่    หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๑๕  แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้  เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม  โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว........
               ๓.  คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๖๑/๒๕๓๕  ตาม  ..มาตรา ๑๕๓๓  การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น    เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียวมาตรา ๑๕๓๔ ก็ให้ถือเสมือนว่า ทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓  กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่........

               ๔.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๔๓๕/๒๕๓๖  ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ ๑ กับ  เมื่อหย่ากันแต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่ง  ตาม  ...  มาตรา  ๑๕๓๓  แต่โจทก์ที่    ไม่ได้แสดงเจตนาแก่  ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟมีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่  จะตาย
กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ
  .  อยู่  ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้  ตาม  ...  มาตรา  ๑๖๔๖
               ๕.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๘/๒๕๓๗ ..........บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา   ซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็น  ผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย   คือ   แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง  โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน    แปลง  และบ้านอีก    หลัง  ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์
และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน
   สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา ตาม  ...  มาตรา  ๑๕๓๒  และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ..มาตรา ๓๗๔  มิใช่สัญญาให้  จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ  ตาม  ..มาตรา  ๕๒๕   แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย  แม้จำเลยผิดสัญญา  โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้

               ๖.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๔๑๔/๒๕๓๙  ข้อตกลงที่ ปจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่า  มิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง  แต่เป็นการให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ปกับโจทก์   ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์  มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่..........
              ๗.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๓๕๒/๒๕๔๐    การที่จำเลยกับผู้ร้องจดทะเบียนหย่ากัน   และทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน  ไว้หลังทะเบียนการหย่าว่าให้สินสมรสทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทตกเป็นของ
ผู้ร้องนั้น
  เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม  ป...  มาตรา  ๑๕๓๒  มีผลบังคับผูกพันสามีภริยานับแต่นายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าแล้ว   หากจำเลยที่  ๒  ผิดสัญญา   ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่  ๒  ปฏิบัติตามสัญญาได้  แต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นสินสมรสของจำเลยที่  ๒  จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้องตาม  ป...  มาตรา  ๑๒๙๙  วรรคหนึ่ง..........
             ๘.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๓๘๒/๒๕๔๐  โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส    เท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อน
สมรสอันเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  มาตรา  ๑๔๗๑  (ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา  ๑๔๗๓  และมาตรา  ๑๓๓๖  แม้ต่อมาจะจดทะเบียนสมรสกัน  ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้   จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บรรพ    หมวด    ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่ง  ตามมาตรา  ๑๔๘๗ 
ก็ไม่ใช่ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรส
    เมื่อโจทก์มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลยแล้วจำเลยไม่แบ่งให้    โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินได้
ตามมาตรา
  ๑๓๖๓
             ๙.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๙๑/๒๕๔๑  .  กับจำเลยที่    จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่    กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์  สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา   ๑๕๓๒    และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่    กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา  ๓๗๔  สิทธิของจำเลยที่    กับพวกจะเกิดขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น   ตามมาตรา   ๓๗๔  วรรคสอง   เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่  ๑ กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว  จำเลยที่ ๑  กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท  .  ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้
             ๑๐.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๕๔๔/๒๕๔๒   แม้การที่   .  ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยเสน่หาแก่
จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์
   ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๔๗๖ (และ ๑๔๗๕  เมื่อมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์  และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ รจดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยที่  ๒ หรือภายใน  ๑๐ ปี  นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา  ๑๔๘๐  ได้ก็ตาม  แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ  ที่จะต้องมีหน้าที่แบ่งสินสมรสให้โจทก์แทน  .  แต่จำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก
  .  จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ  .  ให้โจทก์
                     การทำพินัยกรรม    มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๔๗๖  วรรคหนึ่ง
                     แม้  .  มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่าง รกับโจทก์ส่วนที่ รมีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๔๗๖  วรรคสอง  ได้ก็ตาม  แต่  ก็ไม่
มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้
  การที่  ทำพินัยกรรมยกบ้าน
สินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพัน
   ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์  โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ  โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องร้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ  .  ก่อน
             ๑๑.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๔๗๗/๒๕๔๒    การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใด  ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
                    
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี  ..๒๕๐๙  ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ    เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ    เดิม  มาตรา  ๑๔๖๖  วรรคหนึ่ง  แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ที่ตรวจชำระใหม่ ..๒๕๑๙ ใช้บังคับแล้ว  ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม  ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา  ๑๔๗๑  ()
             ๑๒.  คำพิพากษาฎีกาที่  ๗๙๖๑/๒๕๔๔  ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๓๔ ที่บัญญัติว่า สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป…..ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓ …..”  นั้น  เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ  ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน   แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม  จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๕๓๔ ดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง  เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด   โจทก์ก็ควรได้รับเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จำเลยขายไป   มิใช่กึ่งหนึ่ง ของราคาที่ดินปัจจุบัน  การกำหนดมูลค่าที่ดินที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนไปก่อนฟ้องเพื่อเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์จึงต้องคิดจากราคา ณ วันที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอน
            ๑๓.  คำพิพากษาฎีกาที่   ๔๖๕๐/๒๕๔๕   โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน  กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส  จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ (๑)  โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว  ๒๐๐,๐๐๐ บาท  ส่วนจำเลยลงทุน  ๑๐๐,๐๐๐ บาท  กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน  คือ ๒ ต่อ ๑                   
                    ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว  ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น    จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย    แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย    ซึ่งเงินรายได้
ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย
  และไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย  ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่า  มีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่จำนวนเท่าใด    กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐาน  ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วย  ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่ต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง..........



Visitors: 123,592