การปิดอากรณ์แสตมป์สัญญากู้ ต้องปิดหรือไม่อย่างไร

 คำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ซึ่งปัจุจบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่า กระทำ หมายความว่า การลงลาย มือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วิธีการเสียอากร


วิธีการเสียอากรแสตมป์สำหรับการทำตราสาร เรียกว่า “ปิดแสตมป์บริบูรณ์” ซึ่งหมายความว่า 

1.  ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ 

2.   ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือ 

3.   ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม บทบัญญัติในหมวดอากรแสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี 

การปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามข้อ 1. และ 2. ดังกล่าวข้างต้น อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตาม ที่กำหนดในข้อ 3. แทนได้ คือ กำหนดให้เสียอากรเป็นตัวเงิน เช่น กรณีตั๋วแลกเงิน เช็ค ใบรับรางวัลฉลากกินแบ่ง ใบรับเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ ใบรับเกี่ยวกับยานพาหนะ ตราสารตั๋วสัญญาใช้เงินเฉพาะที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออกตั๋ว จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาลเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร กรมธรรม์ประกันภัย ตั๋วสัญญาใช้เงิน เลตเตอร์ออฟเครดิต ฯลฯ 

การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน 

การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ก็เพื่อความสะดวกในการเสียอากร ที่มีค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกในการใช้ดวงแสตมป์อากรปิดบนตราสารหรือในกรณีไม่สะดวกในการชำระค่าอากร โดยใช้แสตมป์ดุน การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ปฏิบัติดังนี้ 

(1)   การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ใช้แบบ อ.ส.4 (แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน)ยื่นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วย ให้ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรอำเภอ

(2)   สำหรับตราสารที่เป็น 

        (2.1)   ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ธนาคารประกอบกิจการ ในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งจ่าย ตามลักษณะแห่งตราสาร 9(1) และใบรับฝากเงินประเภท ประจำของธนาคารโดยมี ดอกเบี้ย ตามลักษณะแห่งตราสาร 13

        (2.2)   เช็คที่ออกในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 12 

        (2.3)   เช็คสำหรับผู้เดินทางที่ออกหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 15 มีวิธีการเสียอากรเป็นตัวเงินดังนี้ 

                     -   ตราสารตามข้อ (2.1) ให้ธนาคารผู้สั่งจ่ายหรือผู้รับฝาก แล้วแต่กรณีชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ 

                     -   ตราสารตามข้อ (2.2) และ (2.3) ให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนแรกชำระอากรเป็นตัวเงินแทน การปิดแสตมป์ โดยชำระไว้ต่อธนาคาร 

                     -   ตราสารตามข้อ (2.3) ที่ธนาคารเป็นผู้ออก ให้ธนาคารชำระอากรเป็นตัวเงินแทน การปิดแสตมป์ 

                     -   ธนาคารผู้ชำระเงินหรือรับชำระเงินค่าอากร ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร นำเงินค่าอากรที่มีหน้าที่ต้องชำระ หรือได้รับชำระไว้ใปยื่นขอชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อากรแสตมป์ ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ โดยใช้แบบ อ.ส.4ก (แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารเช็คหรือตั๋วแลกเงิน) พร้อมชำระเงิน ส่วนธนาคารที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นชำระเงิน ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ หรือกิ่งอำเภอท้องที่ 

(3)   ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตามลักษณะแห่งตราสาร 28(ข) ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (กรมที่ดิน) 

(4)   ใบรับเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล กำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 

การขีดฆ่าอากร 

คำว่า “ขีดฆ่า” หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับ ได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณีแสตมป์ดุนได้เขียนบนตราสารหรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับ แสตมป์ดุน ให้แสตมป์ปรากฏอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น

Visitors: 125,631